ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบเชิงสมมติฐานปัจจัย เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพดีเด่น จำนวน 3 แห่ง และระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.36 ถึง 0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการกองการศึกษา หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 734 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) วิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา บรรยากาศของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ความพร้อมของทรัพยากรทางการศึกษา และพฤติกรรมการสอนของครูผู้ดูแลเด็ก 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ดังนี้ χ2 = 68.08 P-value = 0.58 df = 71 χ2/df = 0.96 RMSEA = 0.00 GFI = 0.99 AGFI = 0.97 Largest Standardized Residual = 1.98 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) ของปัจจัยเชิงสาเหตุทั้ง 5 ปัจจัย พบว่า สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนคุณภาพผู้เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ร้อยละ 62
Article Details
References
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2557). โครงการศึกษาการจัดทำสถานการณ์และสำรวจข้อมูลการใช้มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กานดา เข็มศร. (2559). แนวทางพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ ตำบลคลองขลุงอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
นวพร รักขันแสง. (2558). ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียน ศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
พิทักษ์เขตต์ แสนโพง. (2560). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นที่ส่งผลต่อมาตรฐานการจัดการ ศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ด้านผลผลิตทางการศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ภัทรภร ปุยสุวรรณ. (2557). แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุวดี แก้วสอน. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2559, จาก : https://www. thaihealth.or.th.
อมรรัตน์ เชิงหอม. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อรัญญา ชนะเพีย. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(3), 50-58.
Benson, E., Nduro, K. Amissah & Amissah, E.K. (2015). Factors affecting the quality of students’ research work : Exploring the perception of students. International Journal of Education, Learning and Development, 3(6), 54-67.
Margaret, C. C. (2014). An exploration of how the beliefs and self-perceptions of early childhood teachers influence their classroom practice (Unpublished doctoral dissertation). Sheffield : University of Sheffield.
Muthaa, G. (2015). Factors affecting implementation of early childhood development education in public centres in Imenti South District, Kenya. British Journal of Education, Society & Behavioural Science, 7(4), 267-272.
Mutindi, K. Z., Chepngeno, K. R. & Jeruto, B. (2016). Teacher factors affecting the implementation of early childhood development education in Kericho Municipality, Kericho County. Journal of Education and Practice, 7(15), 155-160.