รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) ตรวจสอบความเหมาะสมในการนำไปใช้ของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) สร้างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การวิจัยมี 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน การศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ จำนวน 2 แห่ง การสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ ระยะที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบเพื่อนำไปใช้ โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 480 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และระยะที่ 4 สร้างคู่มือการใช้รูปแบบ โดยสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และตรวจสอบหาค่าความสอดคล้อง (IOC) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มี 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย (1) ขอบข่ายการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี 6 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคลากร การบริหารวิชาการ การบริหารอาคารสถานที่ และการบริหารความสัมพันธ์กับชุมชน (2) กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ มี 4 ขั้น ได้แก่ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมการสร้างกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และการควบคุมกลยุทธ์ (3) ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านบุคลากร ด้านวิชาการ ด้านคุณภาพเด็ก ด้านอาคารสถานที่ และด้านชุมชน 2) รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมากที่สุด ( = 4.84, S.D. = 0.50) เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบสามารถเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ ( = 4.93, S.D. = 0.39) ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ( = 4.91, S.D. = 0.42) และขอบข่ายการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ( = 4.83, S.D. = 0.52) ตามลำดับ และ 3) คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.83, S.D. = 0.40)
Article Details
References
กรุงเทพฯ : สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
กันยารัตน์ พรหมทอง. (2556). สภาพปัญหาและความต้องการในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตําบล ในเขตอําเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
กิตติศัพท์ ใจทน. (2555). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
เกสรี แจ่มสกุล. (2551). การนำเสนอยุทธศาสตร์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเทพศาลาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ขวัญชนก กุลชะโมรินทร์. (2557, มกราคม -เมษายน). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 4(1) : 81-88.
จินตนา กุลากุล. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
โชติ แย้มแสง. (2557). กลยุทธ์การดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาปฐมวัยในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ดุสิต สมศรี. (2551). การพัฒนาตัวแบบการบริหารแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทการกระจายอำนาจ ทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นภัสสร สว่างโคตร. (2553). การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามทัศนะของบุคลากรเขตอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุษกร สุขแสน. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ปวันรัตน์ สุขเนตร. (2558). แนวทางการบริหารศูนย์เด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
พันธ์นิภา เมฆสินธ์. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2559). โครงการการประเมินประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2559. จาก www.stabundamrong. go.th/research/research6.
ศิริศิลป์ บุตรจันทร์. (2554). การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้กำกับการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเป้า อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สมชาย พัทธเสน. (2552). กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในทศวรรษหน้า: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สายฝน สกุลเดช. (2554). การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิรัชชา วงค์ประทุม. (2553). การประเมินประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Pearce, J. A. & Robinson, R. B. Jr. (2007). Strategic management: Formulation, implementation and control (10th Ed.). Boston : McGraw Hill International Edition.
Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2006). Strategic management and business policy. New Jersey : Pearson.