การวิเคราะห์พื้นที่การให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การนำระบบโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้กับการให้บริการทางการแพทย์ เป็นนโยบายที่สำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนการให้บริการทางการแพทย์ให้เข้าถึงประชาชนในทุกพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินของสถานพยาบาลในจังหวัดชลบุรี ด้วยกำหนดเงื่อนไขเวลาการเข้าถึงการให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินใน 8 นาที และ 10 นาที และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดชลบุรี โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์พื้นที่การให้บริการ (Service area)
จากการวิเคราะห์โครงข่าย (Network analysis) ด้วย Dijkstra อัลกอริทึม ผลการศึกษาพื้นที่การให้บริการของสถานพยาบาลในจังหวัดชลบุรีพบว่า พื้นที่การบริการการแพทย์ฉุกเฉินภายใน 8 นาที สามารถครอบคลุมพื้นที่ 1,230.98 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 28.21 เปอร์เซ็นต์ และภายใน 10 นาที ครอบคลุมพื้นที่ 2,074.52 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 47.55 เปอร์เซ็นต์ โดยพบว่าโรงพยาบาลชลบุรีเป็นโรงพยาบาลที่สามารถให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีพื้นที่การให้บริการสูงที่สุด
Article Details
References
ESRI. (2017). Service area analysis. Help | ArcGIS Desktop.
Higgs, G. (2004). A literature review of the use of GIS-based measures of access to health care services. Health Services and Outcomes Research Methodology, 5(2), 119–139. https://doi.org/10.1007/s10742-005-4304-7
Klawwikarn, P., & Jirakajohnkool, S. (2014). Application of Geographic Information Systems for Service Area Analysis of Emergency Medical Service Centers in Loei Province. Thai Journal of Science and Technology, 3(3). https://doi.org/10.14456/tjst.2014.8
S.S. Radiah, S., Noor Hasnah, M., & Mohd, O. (2012). Location allocation modeling for healthcare facility planning in Malaysia. Computers&Industrial Engineering, 62, 1000–1010.
ณัฏฐา เวชการ. (2559). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ พื้นที่ให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดพิษณุโลก. วิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พงษ์ชัย จิตตะมัย, นัทธ์ดนัย จันลาวงศ์, วิจัย บุญญานุสิทธิ์, และ สุชาดา มีไชยโย. (2562). การพัฒนาต้นแบบในการประเมินประสิทธิภาพของระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน กรณีศึกษา: จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 6(August).
พีระวัฒน์ แกล้ววิการณ์ และ สุเพชร จิรขจรกุล. (2557). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศษสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่การให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดเลย. Thai Journal of Science and Technology, 3(3).
วลักษ์กมล คงยัง. (2554). การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการจัดทำระบบรถโรงเรียนในเทศบาลนครหาดใหญ่. สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบ,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Data Analysis).
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2563). รายงานประจำปี 2562.
สรวงสุดา คงมั่ง. (2553). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9.
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานสถิติจังหวัดชลบุรี 2562.