ความสัมพันธ์ของความสุขในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด จำแนกตามปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานกับความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัดกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานฝ่ายผลิตที่เป็นคนไทยของพนักงานบริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัดที่ทำงานไม่ต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 180 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า Chi-Square
ผลการศึกษา พบว่า 1) เพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครอบครัว และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความสุขในการทำงานที่แตกต่างกัน 2) จำนวนชั่วโมงล่วงเวลา ลักษณะความเป็นผู้นำของหัวหน้างาน สภาพอากาศ ระดับแสงสว่าง และเครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานที่แตกต่างกัน มีความสุขในการทำงานที่แตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานกับความสุขในการทำงาน พบว่า ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานในมิติที่ 1 Happy Body มิติที่ 3 Happy Heart มิติที่ 4 Happy Soul และมิติที่ 7 Happy Brain แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อยที่สุดกับความสุขในการทำงานใน มิติที่ 2 Happy Relax มิติที่ 5 Happy Family มิติที่ 6 Happy Society อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ผลการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสุขในมิติที่ 3, 4 และ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
ธนวรรณ ตังสินทรัพย์ศิริ. (2547). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
นงลักษณ์ เพิ่มชาติ. (2548). การประเมินผลการปฏิบัติงาน. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
นฤมล แสวงผล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
บัณฑิตา คำโฮม. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์. อุบลราชธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์.
เบญจวรรณ มาลัยรุ่งสกุล. (2552) . ปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. (พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปนิฏฐา จันทร์เกษม. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท โอทีซี ไดเฮ็น เอเชีย จำกัด. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประพนธ์ ผาสุกยืด. (2549). Happy Workplace สวรรค์ในที่ทำงาน. สืบค้น 24 สิงหาคม 2559. จาก http://gotoknow.org/blog/beyondkm/58183.
ปรียาพร วงศ์อบุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พิศิษฐ์ ผลิสินเอี่ยม. (2547). ทัศนคติที่มีต่อปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โครงการชลประทานอำนาจเจริญ. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ลักขณา ศิรถิรลม, วาสนา อูปป้อ และจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. จันทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า.
วราภรณ์ อุสาหะ. (2559). ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานฝ่ายผลิตปีงบประมาณ 2559. สุราษฎร์ธานี: ชัวร์เท็กซ์.
วาสนา พัฒนานันท์ชัย. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิภารัตน์ รัตนเลิศนาวี. (2554). การศึกษาระดับความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในสังกัดสำนักอำนวยการสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (รายงานการศึกษาส่วนบุคคลหลักสูตรนักบริหารการศึกษาระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ (นศส.ศธ.) รุ่นที่ 1). สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สิริรักษ์ วรรธนะพินทุ. (2548). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
สุรพงษ์ นิ่มเกิดผล. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. (ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุวรรณี ทับทิมอ่อน. (2548). แนวทางการสร้างแรงจงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทบางปะกงวู๊ดจำกัด. (ปัญหาพิเศษคณะรัฐประศาสนศาสตร์). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อัชฌา ชื่นบุญ (2556 ) .ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเซนต์เมรี่.นครราชสีมา: โรงพยาบาลเซนต์เมรี่.
Kerns. (2008). Putting Performance and Happiness Together in the Workplace. Graziadio Business Review, 11(1).
Scott. (2015). Ansell Engagement Survey. Suretex Limited Management meeting. Suratthani: Suretex Limited.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.