การเติบโตของเศรษฐกิจท่องเที่ยวและปัญหาการกระจายรายได้ในเกาะพะงัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจของเกาะพะงันโดยใช้ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ปี 2559 และศึกษาปัญหาการกระจายรายได้ของชุมชนเกาะพะงัน โดยใช้ข้อมูลการสำรวจประชาชนในเกาะพะงันจำนวน 305 ตัวอย่าง การวิเคราะห์การกระจายรายได้เลือกใช้วิธี Gini factor และ Pseudo Gini ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจเกาะพะงันขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจเกาะพะงันเปลี่ยนจากการพึ่งพิงภาคการเกษตรไปสู่การพึ่งพิงภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก การขยายตัวของการท่องเที่ยวทำให้รายได้ของประชาชนบนเกาะพะงันเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณาด้านการกระจายรายได้กลับพบว่า การกระจายรายได้ของเกาะพะงันมีความไม่เท่าเทียมกัน โดยแหล่งรายได้ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้การกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม คือ รายได้จากการท่องเที่ยวที่กระจุกตัวอยู่กับกลุ่มอาชีพธุรกิจการท่องเที่ยว และธุรกิจส่วนตัว/ค้าขายเป็นหลัก ยังกระจายไปไม่ถึงประชาชนในกลุ่มอาชีพเกษตรกร และอาชีพรับจ้างมากนัก
Article Details
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). ระบบคลังข้อมูลธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2558. จาก https://datawarehouse2.dbd.go.th/bdw/search/search2.html.
เดชรัช สุขกำเนิด. (2534). การวิเคราะห์องค์ประกอบของการกระจายรายได้ของครัวเรือนประมงชายฝั่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จุฑารัตน์ ขาวคม. (2548). ผลกระทบด้านเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวต่อประชาชนในท้องถิ่นในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธิติพนธ์ โตวิจิตร. (2546). ผลกระทบของการท่องเที่ยวด้านการกระจายรายได้: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างบ้านผานกกกและบ้านบวกเต๋ย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีรวดี จำเดิม. (2549). การศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมโบราณสถานเวียงกุมกาม. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 1(1), 1 - 9.
ประไพพิศ สวัสดิ์รมย์ และมุขสุดา พูลสวัสดิ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการขยายตัวของการท่องเที่ยวโครงสร้างรายได้ และการกระจายรายได้ของชุมชนท่องเที่ยวในภาคตะวันออก. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 9(1), 27 - 41.
ปานจิต จินหิรัญ และพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. (2556). ศึกษาผลกระทบการท่องเที่ยวต่อชุมชนชาวเกาะพะงัน. บทความวิจัยนำเสนอในงานหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4, วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา.
พิมลพรรณ ลาภยงยศ. (2541). การกระจายรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวสู่ท้องถิ่น : กรณีศึกษาเกาะช้างกิ่งอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มนัส สุวรรณ. (2539). การท่องเที่ยวกับผลกระทบ. วารสารภูมิศาสตร์. สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย. 21(1), 13 - 16.
รัชนี ชัยยาภรณ์. (2544). การวิเคราะห์การกระจายรายได้ของครัวเรือนเกษตรในประเทศไทย ระหว่างปีพ.ศ. 2539 และ 2541. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์การวางแผนการท่องเที่ยวและการแก้ไขปัญหาความยากจนแห่งเอเชีย. (2549). แนวทางการวางแผนการพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร.
อธิฏฐาน พงศ์พิศาล. (2549). ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Clements, Christine Jo. (1993). The Perceived Impacts of Tourism on the Mississippi National River and Recreation Area (Recreation Areas, Minesota), Dissertation Abstracts International. 54(4): 1540.
David A. Fennell. (1999). Ecotourism: An Introduction. London: Routledge Press.
Feri, J. C. H., Renis, and S. W. Y. Kuo. (1979). Growth with equity: The Taiwan case. New York: Oxford University Press.
Mowforth, M. and I. Munt. (2003). Tourism and Sustainability: Development and New Tourism in the Third World. London: Routledge Press.
Peerasit Kamnuansilapa and Parnchit Jinhirun. (2015). Tourism and Solid Waste Management on Hoh Pha-Ngan: An Exploratory Study. Humanities and Social Sciences. 32(1), 165-188.
Swarbrooke, J. (1999). Sustainable Tourism Management. Oxon: CABI Publishing.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.
World Tourism Organization. (1998). Guide for local authorities on developing sustainable tourism. Madrid, Spain.