การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กรณีศึกษา น้ำพุร้อนท่าสะท้อน ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

Sarapee Chanatup
Netnapa Raksayot
์Nongluck Phudphuek

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของน้ำพุร้อนท่าสะท้อน ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้มีศักยภาพในการให้บริการนักท่องเที่ยว โดยวิเคราะห์รูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนท่าสะท้อน ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ตามกรอบมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการสังเกตอย่างไม่เป็นทางการ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนท่าสะท้อน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการจัดการตามกรอบมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติ ดังนี้ 1 ด้านมาตรฐานหลักของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติ ได้แก่ คุณภาพน้ำพุร้อน สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น หองแช่น้ำพุร้อน บ่อน้ำพุร้อน หองน้ำ หองสุขา หองเปลี่ยนเสื้อผา เป็นต้น การจัดการดานความปลอดภัย และการจัดการดานสิ่งแวดลอม ที่สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างเหมาะสม และ 2 ด้านศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติ พบว่า แหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนท่าสะท้อน มีสภาพความสมบูรณของธรรมชาติบริเวณโดยรอบพื้นที่ และประชาชนทั้งคนในพื้นที่และต่างพื้นที่นิยมมาอาบน้ำแรเพื่อการรักษาโรค การเดินทางการเขาถึงแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติมีความสะดวก และขนาดพื้นที่บริเวณแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติกว้างขวาง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ มีความเป็นเอกลักษณ์ของทองถิ่น เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ คนในพื้นที่ให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการใชประโยชน์น้ำพุร้อนธรรมชาติ

Article Details

How to Cite
Chanatup, S., Raksayot, N., & Phudphuek ์. (2021). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กรณีศึกษา น้ำพุร้อนท่าสะท้อน ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Management Sciences Suratthani Rajabhat University, 8(1), 61–80. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/246492
Section
Research Article