ทุนมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลง: กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารองค์กรท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันนั้นมีความซับซ้อนและท้าทายมากขึ้นองค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นในทุกมิติ กระแสทุนนิยมซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานที่ว่าองค์กรที่มีทุนมากกว่านับว่ามีความได้เปรียบเหนือกว่าองค์กรอื่น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการบริหารจัดการในทุกภาคส่วนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานราชการ หรือแม้แต่สถาบันการศึกษา จนต้องปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการของตนเองเพื่อให้สามารถแข่งขันและสร้างการเติบโตขององค์กรให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องทุนในการดำเนินงานในปัจจุบันได้ถูกตีความมากกว่าเรื่องของการเงิน ทรัพยากร การบริหารจัดการ และเทคโนโลยี แต่ได้เริ่มให้ความสำคัญต่อทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น และถือเป็นทุนสำคัญขององค์กรในการสร้างความได้เปรียบในการดำเนินงานดังนั้น ทรัพยากรมนุษย์ในยุคปัจจุบันจึงได้ถูกเพิ่มบทบาทและความสำคัญมากยิ่งขึ้น กลายเป็นแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า “ทุนมนุษย์” หรือ “Human Capital”
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับแนวคิดในการบริหาร “ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)” ขององค์กร ไปสู่แนวคิดสมัยใหม่ที่เรียกว่า “ทุนมนุษย์”หรือ “Human Capital” ที่มองว่าทรัพยากรมนุษย์จะกลายเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กรผ่านการใช้ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความชำนาญ และประสบการณ์ของบุคลากร ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารทุกระดับในองค์กรต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง โดยต้องทำงานร่วมกันกับนักทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรเพื่อวางแผนและพัฒนาทุนมนุษย์ขององค์กรให้มีศักยภาพและสามารถสร้างผลผลิตสูงสุดให้กับองค์กร
Article Details
References
กัลย์ ปิ่นเกษร, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และจิราวรรณ คงคล้าย. (2560). ทุนมนุษย์ : ตัวชี้วัดทุนมนุษย์ระดับองค์การ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.11(2), 195.
กิตติ มิลำเอียง. (2559). การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ในองค์การภาครัฐยุคใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 8(1), 149.
ชลพร จันทร์ศิริ. (2556). เอกสารประกอบการสัมมนา: ก้าวทันอาเซียนต้องรู้จักคนอาเซียน.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2559). การจัดการทรัพยากรบุคคล พื้นฐานแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2551). มิติใหม่ในการบริหารทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: กราฟิโก ซิสเต็มส์.
ประไพทิพย์ ลือพงษ์. (2555). การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะความสามารถในการแข่งขัน. วารสารนักบริหาร. 32(4), 103 - 108.
รติพร ถึงฝั่ง และโกศล จิตวิรัตน์. (2552). การพัฒนาทุนมนุษย์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงเชิงพลวัต. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 7(2). 27 - 40.
ระบิล พ้นภัย. (2557). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ความสามารถในการแบ่งปันความรู้ของบุคลากรในองค์การ: ปรากฏการณ์เชิงประจักษ์ของธนาคารพาณิชย์ไทย.
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริพงษ์ เศาภายน. (2551). ทุนมนุษย์และบทบาทในการพัฒนาองค์กร. วารสารรามคำแหง. 25(2). 205 - 207.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔). สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561, จากhttp://www.nesdb.go.th/main.php?fiename=index.
สุดารัตน์ โยธาบริบาล. (2557). สิงคโปร์กับสงครามการแย่งชิงคนเก่งทั่วโลกสู่ “ศูนย์กลางคนเก่งสิงคโปร์”:บทเรียนและความท้าทายสู่แนวทางสร้าง “ศูนย์กลางคนเก่งภาครัฐไทย” ในบริบทอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 31(2). 1 - 28.
Barney, Jay B. (1991). “Firm resources & sustained competitive advantage”. Journal of Management17, 1: 99 - 120.
Lynda Graton and Sumantra Ghoshal. (2003). Managing Personal Human Capital: New Ethos for the “Volunteer” Employee. European management Journal. 21(1), February 2003. Printed in Great Britain.
Tofflr, Alvin. (1981). The Third Wave. London: Pan Books.