พฤติกรรมการฉ้อราษฎร์บังหลวงส่งผลต่อความเสื่อมของเครื่องมือควบคุมหลักธรรมาภิบาล : มุมมองของผู้ตรวจสอบภายในองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นภาคใต้ของไทย

Main Article Content

อรุษ คงรุ่งโชค

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาพฤติกรรมการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่นิยม นำมาใช้ในองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นภาคใต้ของไทย และวิเคราะห์สมรรถภาพของระบบการควบคุมและตรวจสอบภายในในการป้องกัน ค้นพบ และขัดขวางการ กระทำความผิดจากการใช้พฤติกรรมการฉ้อราษฎร์บังหลวงนำไปสู่การขาดหลักธรรมาภิบาลที่เข้มแข็งภายในองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นภาคใต้ของไทย และจากการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล โดยมีอัตราตอบกลับเท่ากับ 67.33% ของกลุ่มตัวอย่าง (251 หน่วยงาน) ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ ในองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นภาคใต้ของไทย คือ การสมรู้ร่วมคิดเป็นทีมและการใช้เครือญาติเป็นเครื่องมือในการฉ้อราษฎร์บังหลวง ในขณะที่รูปแบบการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในองค์การบริหารปกครอง ส่วนท้องถิ่นภาคใต้ของไทย คือ การวิ่งเต้นเพื่อให้ได้มาซึ่งโครงการและงานจากองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นภาคใต้ของไทยด้วยรูปแบบการให้สินบนแก่ผู้มีอำนาจในการอนุมัติโครงการ ในขณะเดียวกันการที่ระบบการควบคุมและตรวจสอบภายในขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการป้องกัน ค้นพบ และขัดขวาง ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการทุจริตและการฉ้อราษฎร์บังหลวงเนื่องจาก ผู้ตรวจสอบภายในขององค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นภาคใต้ของไทยขาดความเป็นอิสระและความสามารถในการปฏิบัติงานตรวจสอบ เพื่อการประเมินความเพียงพอ ของระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง นี่คือสาเหตุหลักที่นำไปสู่การขาดหลัก ธรรมาภิบาลที่เข้มแข็งภายในองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นภาคใต้ของไทย

Article Details

How to Cite
คงรุ่งโชค อ. (2018). พฤติกรรมการฉ้อราษฎร์บังหลวงส่งผลต่อความเสื่อมของเครื่องมือควบคุมหลักธรรมาภิบาล : มุมมองของผู้ตรวจสอบภายในองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นภาคใต้ของไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 1(1), 63–84. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/view/150177
บท
บทความวิจัย