การตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์อาหารชานอ้อยของผู้ประกอบการร้านอาหารในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารด้วยวัสดุจากชานอ้อยจำแนกตามปัจจัยด้านผู้ประกอบการร้านอาหารในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และความตระหนักถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารด้วยวัสดุจากชานอ้อยของผู้ประกอบการร้านอาหารในกรุงเทพมหานครด้วยจำนวนตัวอย่าง 274 ตัวอย่างที่ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multipleregression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านผู้ประกอบการ ด้านประเภทร้านอาหาร ด้านตราสินค้าที่เลือกใช้ และด้านประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้ที่แตกต่างกันมีผลให้การตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารด้วยวัสดุจากชานอ้อยแตกต่างกัน และความตระหนักถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารด้วยวัสดุจากชานอ้อยที่ทำให้มีสัดส่วนปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารชานอ้อยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
จณัญญา ลิ้มวิลัย. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อของ ผู้บริโภคต่อกระดาษนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมตราสินค้า ไอเดียกรีน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นัยนา สุทธิรัตนศักดิ์. (2552). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อกลยุทธ์การตลาดของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากชานอ้อย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นัฐกานต์ บัวที. (2558). ศึกษาเรื่อง ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยที่มีพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. จาก http://www.info.ms.su.ac.th/sums01/PDF01/649_20150827_6.pdf.
ปทิตตา กองแพง.(2554). ความคิดเห็นของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการใช้ ภาชนะบรรจุจากชานอ้อยทดแทนการใช้โฟมและพลาสติก. การค้นคว้า แบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พัชรี ดวงแสงทอง. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการใช้ภาชนะบรรจุย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากมันสำปะหลังของผู้บริโภคในอ?ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มรกต ศรีงาม. (2544). พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัชฎาพร ใจมั่น. (2550). การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคภาชนะบรรจุอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์เทคโนโลยีการบรรจุมหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีการบรรจุ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุชาต ประสิทธิ์รัฐสิทธุ์. (2546). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวส?ำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: หจก.สามลดา.
สโรรินทร์ ซิมศิริรัตน์. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมมหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สิทธิกร แก้วราเขียว. (2554). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์อาหารจาก ชานอ้อยในอำเภอเมือง เชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อารยา ขันทปราบ. (2552). บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม. (Online). Available: http://www.mdsyn.com/html_bpe/th/article2009_017.php.