การรับรู้ภาพลักษณ์กรุงรัตนโกสินทร์จากประสบการณ์ผ่านนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การรับรู้ภาพลักษณ์กรุงรัตนโกสินทร์จากประสบการณ์ผ่านนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวชาวไทยได้รับหลังการเข้าชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ การรับรู้ภาพลักษณ์กรุงรัตนโกสินทร์หลังการเข้าชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย และความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์กรุงรัตนโกสินทร์หลังการเข้าชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ในเส้นทางที่ 1
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 15-19 ปี การศึกษาปริญญาตรี มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์มาก่อน แต่มีประสบการณ์เคยเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพมหานครหลายแห่ง ส่วนใหญ่เคยเข้าชมท้องฟ้าจำลอง มีความถี่ในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์โดยเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อปี และได้ใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่ภายในอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์
ประสบการณ์ที่กลุ่มตัวอย่างได้รับหลังการเข้าชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.34) โดยมีประสบการณ์ที่ได้รับด้านความรู้สึก (Feel) เป็นอันดับแรก (x̄ = 4.49) รองลงมา คือ ประสบการณ์ที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัส (Sense) (x̄ = 4.44) และประสบการณ์ที่ได้รับด้านความคิด (Think) (x̄ = 4.36) ส่วนประสบการณ์ผ่านการเชื่อมโยง (Relate) (x̄ = 4.15) และประสบการณ์ที่ได้รับผ่านการกระทำ (Act) (x̄ = 4.06 ) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
การรับรู้ภาพลักษณ์กรุงรัตนโกสินทร์ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.84 ) โดยมีการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านศิลปะ เป็นอันดับแรก (x̄ = 4.51) รองลงมาคือ การรับรู้ภาพลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์ (x̄ = 4.50) และการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านวัฒนธรรม (x̄ = 4.41)
ประสบการณ์ที่ได้รับหลังเข้าชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ในเส้นทางที่ 1 มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์กรุงรัตนโกสินทร์ในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อจำแนกจากประสบการณ์แต่ละด้านพบว่า ประสบการณ์ที่ได้รับด้านความรู้สึก (Feel) ประสบการณ์ที่ได้รับด้านความคิด (Think) และประสบการณ์ที่ได้รับด้านการเชื่อมโยง (Relate) มีความสัมพันธ์ระดับสูง ส่วนประสบการณ์ที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัส (Sense) และประสบการณ์ที่ได้รับผ่านการกระทำ (Act) มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการรับรู้ภาพลักษณ์กรุงรัตนโกสินทร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
References
นิติเทพ ชัยชนะ. (2556). นวัตกรรมบันเทิงศึกษา เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวฒั นธรรม : ศึกษากรณีนิทรรศน์รัตนโกสินทร์. ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: การประชุมวิชาการระดับชาติมรดกทางวัฒนธรรมที่ถูกลืม: รู้ รักษา สืบสาน. 1 - 13.
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560,จาก http://www.nitasrattanakosin.com
ปราณี เอี่ยมละออภักดี. (2548).การตลาดประสบการณ์: ประสบการณ์ของลูกค้า. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 25(2), 19 - 28.
ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ, ปัทมา สูบกำปัง, สติธร ธนานิธิโชติ, นงลักษณ์ อานี และอุมาภรณ์ ศรีสุทธิ์, (2558). สถาบันพระมหากษตัริย์กับสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560, จาก http://kpi.ac.th/public/knowledge/book/data/491.
พิชชานันท์ สิริภัคพัฒนกุล. (2560). พฤติกรรมการเข้าชม ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์จากการเข้าชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วราภรณ์ ฉัตราติชาต. (2559, พฤษภาคม). การสร้างประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ผ่านพิพิธภัณฑ์องค์กร:กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ BMW เมืองมิวนิค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. การประชุมวิชาการระดับชาติคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4 ประจำปี 2559. โรงแรมโนโวเทล หัวหินชะอำ บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา, อำเภอชะอำ, จังหวัดเพชรบุรี.
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. (2559). ปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ บทเรียนจากคนอื่น. กรุงเทพฯ: เปนไท พับลิชชิ่ง.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. 2559 (ในรอบปี 2558). กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
Anholt, S. (2008). Nation branding, place branding, destination branding, country branding, Competitive Identity ... what does it all mean?.Retrieved December 02, 2017. From http://simonanholt.com.
Baloglu, S. and McCleary, K. W. (1999). A model of destination Image Formation. Annals of Tourism Research. Annals of Tourism Research, 26(4): 868 - 897.
Burns, P. and Novelli, M. (2008). Tourism development: growth, myths, and inequalities. UK:Biddles Ltd.
Schmitt, B. (1999). Experiential Marketing: How to Get Customers to Sense, Feel, Think, Act, Relate to Your Company and Brands. New York: The Free Press.