ประสิทธิภาพทางด้านโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ประกอบการส่งออกผลไม้

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ กาวิชา สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์คณะวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต
  • นพปฎล สุวรรณทรัพย์ สาขาวิชาการจัดโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพทางด้านโลจิสติกส์, ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนน, ความพึงพอใจของผู้ส่งออกผลไม้

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้ส่งออกสินค้าในไทยที่มีผลต่อความพึงพอใจผู้ส่งออกผลไม้ที่มีต่อผู้ให้บริการขนส่งสินค้า 2) ศึกษาคุณลักษณะของผู้ส่งออกสินค้าในไทยที่มีผลต่อประสิทธิภาพทางโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้า 3) ศึกษาประสิทธิภาพทางโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้ส่งออกผลไม้ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนน โดยเป็นการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก ใช้วิธีในการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จํานวนทั้งหมด 5 คน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ส่งออกผลไม้ในภาคกลาง จํานวน 240 คน ใช้วิธีในการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการเลือกตัวอย่างตามสะดวกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย อัตราร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุและค่าเอฟเทส

          ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะของผู้ส่งออกสินค้าในไทยที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ส่งออกผลไม้ที่มีต่อผู้ให้บริการขนส่งทางถนนไม่แตกต่างกัน 2) คุณลักษณะของผู้ส่งออกสินค้าในไทยที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพทางโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการขนส่งทางถนนไม่แตกต่างกัน โดยคุณลักษณะของผู้ส่งออกผลไม้ได้แก่ จํานวนเที่ยวในการขนส่งสินค้าต่อเดือน มูลค่าการส่งออกสินค้าต่อปี ขนาดขององค์กร รูปแบบธุรกิจ และ ระยะเวลาในการดําเนินธุรกิจขององค์กร 3) ประสิทธิภาพทางโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้ส่งออกในไทยมากที่สุดคือ ประสิทธิภาพทางด้านกระบวนการทางโลจิสติกส์ ประสิทธิภาพทางด้านการเข้าถึงบริการและ ประสิทธิภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

References

ณัตพร ไชยเสนา. (2560). การจัดเส้นทางการขนส่งด้วยวิธีเมต้าฮิวริสติกส์กรณีศึกษา บริษัทผู้ให้บริการขนส่งทางด้านโลจิสติกส์. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ธนิต โสรัตน์. (2550). โหมดการขนส่งทางถนน. จาก http://www.tanitsorat.com/view.php?id=54

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

เบญจพร สุวรรณแสนทวี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการในการขนส่งโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปิยปราชญ ธิติวิรุฬห. (2556). ประสิทธิภาพโลจิสติกส์ด้านการจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นยานยนต์ในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการตลาด, มหาวิทยาลัยสยาม.

วัชร์โรจน์ งามแสงเนตร์. (2555). การเปรียบเทียบการจัดระบบโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมยานยนต์จากมุมมองของผู้ประกอบการและผู้ให้บริการด้านการขนส่ง. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อัครพล ชุณหเกียรติ์สกุล. (2559). การลดต้นทุนการขนส่งของบริษัทขนส่ง กรณีศึกษาศูนย์กระจายสินค้าจังหวัดเพชรบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09