ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชน กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศิริพร แก้วหอม
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์
ศจี จิระโร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชน กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชน กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชน กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร และ 4) ศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชน กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาเอกชน
กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร จำนวน 234 คน ได้จากการเปิดตารางของเครจซีและมอร์แกน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารสถานศึกษา ได้แก่ การกำหนดนโยบายการบริหารและปฏิบัติงาน แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ลักษณะงาน ความสำเร็จของงาน ความสัมพันธ์ภายในองค์กร บรรยากาศภายในองค์กรมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .838, .909, .887, .898, .915, .908 ตามลำดับ และการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .975 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยการบริหารของสถานศึกษาเอกชน กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุดดังนี้ การกำหนดนโยบายการบริหารและปฏิบัติงาน ลักษณะงาน ความสำเร็จของงาน บรรยากาศภายในองค์กร แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ภายในองค์กร 2) การพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้ การบริการที่ดี จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ การพัฒนาผู้เรียน การบริหารจัดการชั้นเรียน การทำงานเป็นทีม และอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับดังนี้ ภาวะผู้นำครู การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาตนเอง การวิเคราะห์ สังเคราะห์และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน 3) ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาของสถานศึกษาเอกชน กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับสูง และ 4) ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชน กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร 4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชน กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 ตามลำดับ ได้แก่ บรรยากาศภายในองค์กร ความสำเร็จของงาน ลักษณะงาน และความสัมพันธ์ภายในองค์กร คิดเป็นร้อยละ 51.30

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญชนก บุญนาค. (2563). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ระดับประถมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 62-77.

ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะ. วารสารสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 12(2), 47-63.

ณรงค์ พิพัฒนาศัย. (2557). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจําปีงบประมาณ 2558 5 นโยบายทั่วไป 7 นโยบายเฉพาะ และ 10 นโยบายเร่งด่วน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. http://www.bic.moe.go.th/

images/stories/pdf

ณัฐกฤตา ยติกุลเกยูร และพงษ์ภิญโญ แม้นโกศล. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย DPU, 2, 196-213.

ทะเวศร์ ศรรบศึก. (2560). ศึกษาระดับและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสารคาม.

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา. (2556). เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556.

(13, พฤศจิกายน, 2556 จากราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 156 ง. 43-54.

มูนีเราะห์ สาและอาแร. (2561). การบริหารโรงเรียนตามหลักการบริหารจัดการทีดีในอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

โรงเรียนอันวารุ้ลอิสลาม. (2563). รายงานผลการประเมินตนเองสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ: โรงเรียนอันวารุ้ลอิสลาม.

วนิดา ภูชานิ. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 113,155-168.

วิจารย์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิจารย์ พานิช. (2558). แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่คำ(แม่คำสบเปินราษฎร์นุกูล). http://www.tmk.ac.th/teacher/

capasity.pdf

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภาเรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อรพรรณ ทิมครองธรรม. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ของสหวิทยาเขตเบญจบูรพา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อาริยา ธีรธวัช. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 สำหรับครู ในวิทยาลัยเทคโนโลยี

คุวานันท์. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.

Partnership for 21st Century Skills. (2008). 21st Century skills education and competitiveness: a resource and policy guide. Partnership for 21st Century Skills: Tuscon.

UNESCO. (2011). A Guide to education for sustainable development coordination in Wiggins, G. And McTighe, J. (2005). Understand Asia and the Pacific. UNESCO Bangkok. www.unescobkk.org/resources/e-library/

publications/article