https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/issue/feed วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2024-12-21T12:52:52+07:00 Dr.Supamas Chumkaew mesr.editor@hotmail.com Open Journal Systems <p>วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (<strong>ISSN online :</strong> 2730-2466)</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/284431 Educational Research: Quantitative, Qualitative, and Mixed Approaches 2024-12-21T12:40:39+07:00 ศุกลรัตน์ อิงชาติเจริญ sukolrating@gmail.com 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/273264 การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในการวิจัยทางการศึกษา 2023-11-15T10:30:49+07:00 ชาริน สุวรรณวงศ์ charins@g.swu.ac.th <p>การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบถือเป็นรูปแบบการวิจัยเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ทางการศึกษาในหลายประเด็น เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการตอบคำถามการวิจัยที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะในส่วนของการออกแบบการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา และการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ กระบวนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนที่เข้มงวด รัดกุม และโปร่งใส เพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการทราบ โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ 1) การกำหนดคำถามและวัตถุประสงค์การวิจัย 2) การสืบค้นงานวิจัย การค้นหาและรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการทราบ เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการทบทวนวรรณกรรม 3) การกำหนดเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกงานวิจัย การตัดสินใจว่างานวิจัยใดควรเข้าร่วมกระบวนการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยใดควรถูกตัดออก เพื่อรักษาคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายของการทบทวน 4) การประเมินคุณภาพงานวิจัย การตรวจสอบและประเมินคุณภาพของงานวิจัยที่รวบรวมมา โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 5) การสกัดข้อมูลและการรายงานผลการสังเคราะห์งานวิจัย การสกัดข้อมูลจากงานวิจัยที่เลือกเพื่อนำมาใช้ในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และการสรุปและรายงานผลเพื่อนำข้อมูลไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และนโยบายที่เหมาะสม การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้ช่วยให้นักวิจัยทางด้านการศึกษาสามารถรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านการศึกษาอย่างมีระเบียบและมีคุณภาพเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้และนโยบายทางการศึกษาที่เหมาะสมต่อบริบทและความต้องการทางการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/276419 การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของบุคลากรสำนักทะเบียนและวัดผลมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยประยุกต์ใช้โมเดลการจัดการความรู้เซกิและโมเดลการวิจัยปฏิบัติการ 2024-04-10T13:34:30+07:00 สุขใจ รอยกุลเจริญ jai.kk55@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของบุคลากรสำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) เพื่อพัฒนารูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) โดยการประยุกต์ใช้โมเดลการจัดการความรู้เซกิและโมเดลการวิจัยปฏิบัติการ และ 3) เพื่อทดลองใช้ ประเมินผล และเสนอแนวทางการใช้รูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของบุคลากรสำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากร จำนวน 189 คน ระยะที่ 2 พัฒนา ทดลองใช้ ประเมินผล และเสนอแนวทางการใช้รูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากร ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) อยู่ในระดับปานกลางทั้งคะแนนเฉลี่ยรวมและแยกรายด้าน ได้แก่ (1.1) การกำหนดแนวทางประกันคุณภาพการศึกษา (1.2) การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา (1.3) การติดตามและประเมินผล และ (1.4) การปรับปรุงและพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษา 2) รูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงเนื้อหาและมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งาน กล่าวคือ ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ (I-CVI) อยู่ในช่วง .89 – 1.00 และค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ .88 3) หลังการทดลองใช้รูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) สูงกว่าก่อนการทดลอง และคะแนนความพึงพอใจต่อการทดลองอยู่ในในระดับมากที่สุด (<strong> <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /></strong>= 4.57, SD =0.47) และ 4) แนวทางการใช้รูปแบบส่งเสริมการมีส่วนร่วม คือ ต้องมีการขับเคลื่อนทุกภาคส่วนภายในหน่วยงานตามกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ได้เสนอไว้</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/275105 การใช้แบบจำลอง CIPP และแนวคิดที่คลาดเคลื่อนในการนำแบบจำลอง CIPP มาใช้ในการประเมินโครงการทางการศึกษา 2024-04-26T15:26:48+07:00 มินตรา สมจิตต์ mintra.9616@gmail.com ศิริชัย กาญจนวาสี sirichai.k@chula.ac.th โชติกา ภาษีผล aimomj@hotmail.com <p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้แบบจำลอง CIPP และแนวคิดที่คลาดเคลื่อนในการนำแบบจำลอง CIPP มาใช้ในการประเมินโครงการทางการศึกษา โดยวิเคราะห์รูปแบบการใช้แบบจำลอง CIPP ในการประเมินโครงการทางการศึกษา จำนวน 150 เรื่อง ที่ได้จากฐานข้อมูลออนไลน์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์งานนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ และงานวิจัย ที่ได้รับการเผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 - 2560 ด้วยการกำหนดค่าความถี่ ร้อยละ ตามกรอบรายการตรวจสอบการใช้แบบจำลอง CIPP ในการประเมินโครงการตามแนวคิดของ Stufflebeam (2007) ประกอบด้วย 4 รายการ ดังนี้ การประเมินบริบท (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และ การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินบริบท (C) ส่วนใหญ่ทำการประเมินทรัพย์สิน และปัญหาต่างๆ ในสภาวะแวดล้อมที่กำหนด โดยไม่ได้ประเมินความต้องการจำเป็น (Needs) ขององค์กร ขั้นตอนการปฏิบัติ และการตรวจสอบติดตามสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า (I) ส่วนใหญ่ทำการประเมินกลยุทธ์การแข่งขัน แผนงาน และงบประมาณของวิธีการที่เลือก โดยไม่ได้ประเมินการเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม ในการสังเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอ 3) การประเมินกระบวนการ (P) ส่วนใหญ่ทำการประเมินการดูแลติดตาม ทำเอกสาร และประเมินกิจกรรมของโครงการ แต่ไม่ได้ประเมินกระบวนการการดำเนินงานตามแผน และ 4) การประเมินผลผลิต (P) ส่วนใหญ่ทำการประเมินกิจกรรมของลูกค้า/ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวกับการควบคุมว่าใครได้รับบริการ แต่ไม่ได้ทำการประเมินผลลัพธ์ (Results) ของโครงการ</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/275612 เครือข่ายในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ: กรณีศึกษาอำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2024-04-05T18:45:26+07:00 สิรวิชญ์ จีนย้าย boomlawmay1@gmail.com วรวลัญช์ วัฒนเดชไพศาล wornwaluncha.roj@stou.ac.th ธโสธร ตู้ทองคำ thasothorn.too@stou.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา 2) รูปแบบของการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอถ้ำพรรณรา และ 3) ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มประชากรจำนวน 3 กลุ่ม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 17 คนได้แก่ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่คณะทำงานจำนวน 5 คน กลุ่มที่ 2 ภาคเอกชน จำนวน 7 คน กลุ่มที่ 3 ภาคประชาชน จำนวน 5 คน การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหา เป็นการสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เป็นทางการ ตามคำสั่ง ระเบียบต่างๆ หรือหน้าที่ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และไม่เป็นทางการจากการให้ความร่วมมือการประสานงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน 2) รูปแบบของการแก้ไขปัญหา เป็นไปตามวงจรการแก้ไข้ปัญหาภาวะฉุกเฉิน ที่มีระยะก่อนเกิดภัย ในการเตรียมความพร้อม ขณะเกิดภัยตามที่มีการวางแผนเตรียมความพร้อม และภายหลังเกิดภัยที่มีการฟื้นฟูช่วยเหลือทำให้เกิดเครือข่าย 2 ลักษณะ คือ 2.1) เครือข่ายตามแนวตั้ง ที่ตัวแสดงมีความสัมพันธ์กันแบบสายบังคับบัญชาในลักษณะจากการบังคับบัญชาบนลงล่าง 2.2) เครือข่ายตามแนวราบ ที่ตัวแสดงมีความสัมพันธ์กันในแบบความร่วมมือที่มีความเท่าเทียมกัน 3) ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหา พบว่า 3.1)ปัญหาอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการประสานงานของรัฐที่ล่าช้าติดปัญหาเรื่องเอกสาร 3.2) ปัญหาอุปสรรคของภาคเอกชน ในการประสานงานกับภาครัฐในความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในช่วงแรก และการสื่อสารของพนักงานในภาคเอกชน 3.3) ปัญหาอุปสรรคของภาคประชาชน ที่เข้าไม่ถึงหน่วยงานภาครัฐในระยะแรกของการแพร่ระบาด</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/272836 ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจากครอบครัวด้านการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2023-10-31T14:39:41+07:00 แพรวนภา ปันฉิม 6512681007@rumail.ru.ac.th พนิดา พานิชวัฒนะ panida.p@rumail.ru.ac.th จุฑามาศ แสงงาม juthamas@rumail.ru.ac.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจากครอบครัวด้านการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 2/2565 จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ แบบวัดการสนับสนุนจากครอบครัวด้านการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการวิจัย พบว่า การสนับสนุนจากครอบครัวด้านการเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.288) เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า การสนับสนุนด้านอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.238) และการสนับสนุนด้านทรัพยากรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.274)</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/276896 บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2024-05-29T23:21:46+07:00 จิรพรรณ เฟื่องขจร aamie.pandanus@gmail.com สมถวิล วิจิตรวรรณา sowiji@rpu.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี และ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูและผู้บริหารในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 328 คน (ผู้บริหาร 39 คน และครู 289 คน) จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.67-1.0 และความเที่ยงเท่ากับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการกำกับดูแลการใช้นวัตกรรมในการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมให้นักเรียนเป็นนวัตกร ด้านการนำรูปแบบทางดิจิทัลมาสนับสนุนการเรียนรู้ และด้านการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมืออาชีพในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบเปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ทำงานและจำแนกตามขนาดโรงเรียนในภาพรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช