วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr <p>วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (<strong>ISSN online :</strong> 2730-2466)</p> th-TH <p>ข้อความและบทความในวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการวารสาร จึงมิใช่ความรับผิดชอบของวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์&nbsp; บทความในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ</p> mesr.editor@hotmail.com (Dr.Supamas Chumkaew) mesr.editor@hotmail.com ( Asst. Prof. Dr.Anusorn Koedsri) Thu, 20 Jun 2024 15:36:05 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 จากมาตรประมาณค่าของลิเคิร์ทสู่การพัฒนามาตรประมาณค่าแนวใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/275553 <p>มาตรประมาณแบบรวมค่าของลิเคิร์ทเป็นเครื่องมือวิจัยที่นักวิจัยทางสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ของประเทศไทยนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามเครื่องมือประเภทนี้ยังมีจุดด้อยและข้อสังเกตที่น่าสนใจหลายประการที่นักวิชาการได้นำเสนอเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนามาตรประมาณค่าบนฐานคิดของลิเคิร์ทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรประมาณค่าตามแนวคิดของลิเคิร์ทและประเด็นที่ควรพิจารณาที่นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนามาตรประมาณค่าแนวใหม่ ทั้ง 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1) มาตรประมาณค่าของลิเคิร์ทเป็นมาตรวัดแบบจัดลำดับหรืออันตรภาค 2) มาตรประมาณค่า 5 ระดับ เพียงพอสำหรับการวัดแล้วหรือไม่ 3) การกำหนดความกว้างของช่วง (interval) ในมาตรประมาณค่าและการระบุค่าน้ำหนักควรกำหนดให้เท่ากันหรือสมดุลกันหรือไม่ 4) มาตรประมาณค่าควรเป็นมาตรวัดแบบคู่หรือมาตรวัดแบบคี่ และ 5) การใช้คำหรือการนิยามแทนระดับความรู้สึกหรือค่าคะแนนควรมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งข้อพิจารณาแต่ละประเด็นที่กล่าวถึงในบทความนี้ไม่ได้ชี้นำหรือระบุให้ผู้อ่านนำไปใช้ปฏิบัติตาม หากแต่อาจเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์สำหรับใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเครื่องมือวิจัยประเภทมาตรประมาณค่าให้มีความเหมาะสมกับบริบทและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของงานวิจัยให้เกิดความเที่ยงตรงภายใน รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือวิจัยประเภทมาตรประมาณค่าให้สูงขึ้นได้</p> รณกฤต ผลแม่น, มาลีรัตน์ ขจิตเนติธรรม Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/275553 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนามาตรวัดความฉลาดทางคุณธรรมจริยธรรมตามหลักจิตวิทยาสำหรับเด็กและเยาวชนโดยใช้แบบวัดการตัดสินใจเชิงสถานการณ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/275719 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดความฉลาดทางคุณธรรมจริยธรรมของคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนตามหลักจิตวิทยาโดยใช้แบบวัดการตัดสินใจเชิงสถานการณ์ ตัวอย่างในการวิจัยคือ เด็กและเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 13-25 ปี ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ในโรงเรียนสังกัดต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,172 คน กำหนดตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสังกัดโรงเรียน แบบวัดความฉลาดทางคุณธรรมจริยธรรมมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาสูงกว่า 0.60 ทุกข้อ และมีค่าความเที่ยงของชุดคำถามในแต่ละด้านคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่ 0.60-0.78 ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการวัดความฉลาดทางคุณธรรมจริยธรรมตามหลักจิตวิทยาซึ่งออกแบบตามแนวคิดพฤติกรรมทางคุณธรรมจริยธรรม 4 ประการของ Rest ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ Kohlberg และทฤษฎีพหุปัญญาของ Gardner แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ คือ ความฉลาดเชิงพฤติกรรมภายในและภายนอก ความฉลาดเชิงพฤติกรรมภายใน ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ คือ 1) ความอ่อนไหวทางคุณธรรมจริยธรรม 2) การให้เหตุผลทางคุณธรรมจริยธรรม 3) ความผูกโยงทางคุณธรรมจริยธรรม และ 4) ความกล้าหาญทางคุณธรรมจริยธรรม และความฉลาดเชิงพฤติกรรมภายนอก ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ คือ 1) พฤติกรรมส่วนบุคคล 2) พฤติกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ และ 3) พฤติกรรมเชิงขยายทางคุณธรรมจริยธรรม แต่ละโมเดลการวัดจำแนกตามเนื้อหาด้านคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย 1) ความซื่อสัตย์ 2) ความมีวินัย 3) จิตสาธารณะและประโยชน์ส่วนรวม 4) ความพอเพียง และ 5) ความรับผิดชอบ ทุกโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดตามสังกัดโรงเรียน พบว่า โมเดลมีรูปแบบโครงสร้างไม่แปรเปลี่ยนแต่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบแปรเปลี่ยนไปตามสังกัดโรงเรียน แสดงว่า แบบวัดดังกล่าวสามารถนำไปใช้วัดความฉลาดทางคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนได้ทุกกลุ่มสังกัดโรงเรียนแต่มีการให้น้ำหนักในแต่ละองค์ประกอบแตกต่างกัน</p> ชนัญชิดา ทุมมานนท์, สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน, กนิษฐ์ ศรีเคลือบ Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/275719 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาโมเดลเชิงตรรกะสำหรับประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/273909 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาโมเดลเชิงตรรกะสำหรับการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และ 2) ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ วิธีดำเนินการวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น<br />2 ระยะ ระยะที่ 1 พัฒนาโมเดลเชิงตรรกะสำหรับการประเมินโครงการ จากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ 1) ผู้บริหารของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 5 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 ท่าน และ 2) ผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอนของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 5 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสรุปเป็นโมเดลสำหรับประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระยะที่ 2 การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือ กรณีศึกษาโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ โดยประเมินเอกสารและบุคคล เอกสาร ประกอบด้วย รายงานสรุปผลโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล ได้แก่ ครูผู้สอนของโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน นักเรียน 181 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผลการประเมินโครงการ พบว่า ปัจจัยนำเข้ามี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) งบประมาณ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ครูผู้รับผิดชอบ อยู่ในระดับดี 3) คู่มือ อยู่ในระดับดี กระบวนการมี 1 องค์ประกอบ ได้แก่ ขั้นตอนการช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับดี ผลผลิต มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นักเรียนมีความเสี่ยงด้านที่เป็นปัญหาลดลง อยู่ในระดับดี 2) นักเรียนรู้จักตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง 3) นักเรียนเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาได้ อยู่ในระดับปานกลาง ผลลัพธ์ มี 2 ประกอบ ได้แก่ 1) นักเรียนมีความสนใจในการเรียนเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับดี 2) นักเรียนสามารถบริหารจัดการชีวิตในการเรียนได้ อยู่ในระดับปานกลาง ผลกระทบ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อยู่ในระดับดี 2) นักเรียนใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข อยู่ในระดับปานกลาง</p> ธนัญชนก จันทร์แดง, เรืองเดช ศิริกิจ, ปิยพงษ์ คล้ายคลึง Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/273909 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอน ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีแบบคอนติบิวชั่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/273908 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีแบบคอนติบิวชั่น วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดสภาพปัญหา โดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ครูผู้สอน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยง ร่างโมเดลการกระทำ และโมเดลการเปลี่ยนแปลง กำหนดสมมติฐาน if…then ขั้นตอนที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินคุณลักษณะ นำผลการวิเคราะห์แบบสอบถามเพื่อนำมาประเมินตามเกณฑ์การประเมิน และพิจารณาจุดอ่อนของทฤษฎีโปรแกรม โดยพิจารณาจากสมมติฐานว่าเป็นไปตามสมมติฐานหรือไม่ ขั้นตอนที่ 5 การหาหลักฐานเชิงประจักษ์เพิ่มเติม โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และขั้นตอนที่ 6 การปรับปรุงหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อให้ทฤษฎีโปรแกรมมีความแกร่ง ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของครู ประกอบด้วย ตัวแทรกแซง 2 ตัว คือ การสนับสนุนจากโรงเรียน และ การเข้าร่วมอบรมหรือประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีในการสอน ตัวกำหนด 3 ตัว ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของครู ทัศนคติเชิงบวกของครูกับการใช้เทคโนโลยี และประสบการณ์หรือทักษะการใช้เทคโนโลยีของผู้สอน และผลลัพธ์ คือ ความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของครู</p> อิทธิกร บุนนาค, กาญจนา ตระกูลวรกุล, อุไร จักษ์ตรีมงคล Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/273908 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/272826 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา และ 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาและระดับการศึกษาที่ส่งผลต่อจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ประชากร คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของวิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยการเลือกแบบเจาะจง Purposive Sampling ทั้งหมด 779 คน ในการเก็บข้อมูลจริง มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 632 คน โดยมีอัตราการตอบกลับ คิดเป็นร้อยละ 81.13 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลก พบว่าความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเที่ยงด้วยเกณฑ์ของ Cronbach’s Alpha มีค่าเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง Two-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาระดับชั้น ปวช. และปวส. สังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.36 โดยจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกด้านเคารพความเป็นปัจเจกบุคคลอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านต่อต้านการใช้ความรุนแรงอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาและระดับการศึกษาที่ส่งผลต่อจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลก</p> ยศกร กลมกูล, พนิดา พานิชวัฒนะ, จุฑามาศ แสงงาม Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/272826 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยโครงการสร้างอิฐนาโนจากขยะพอลิเมอร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/277190 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยโครงการสร้างอิฐนาโนจากขยะพอลิเมอร์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาบอำมฤตวิทยา จังหวัดชุมพร จำนวน 20 คน ซึ่งสมัครใจเข้าร่วมการวิจัยผ่าน “กิจกรรมพัฒนานักเรียน” ของโรงเรียน เครื่องมือวิจัย มี 2 ประเภท ดังนี้ 1) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ใบงานการออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์จากขยะพอลิเมอร์ แบบบันทึกข้อมูลการสังเกตและการสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาจากขยะพอลิเมอร์ และแบบบันทึกกระบวนการปฏิบัติงานการออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์รวมทั้งปัญหาจากการดำเนินงานและข้อเสนอการปรับปรุง และ 2) เครื่องมือผลิตและทดสอบคุณภาพสิ่งประดิษฐ์ ได้แก่ เครื่องหลอมพลาสติก เครื่องอัดอิฐบล็อก เครื่องทดสอบแรงอัดอิฐบล็อก และเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของการรับแรงอัดอิฐและการสะท้อนแสงของอิฐนาโน และ 2) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จในการปลูกฝังแนวทางการคิดเชิงออกแบบในการสร้างอิฐนาโนจากขยะพอลิเมอร์ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล และใช้การประเมินตนเองในการทบทวนงานตลอดทุกขั้นตอน ต้นแบบอิฐนาโนจากขยะพอลิเมอร์นำไปใช้ประโยชน์เป็นอิฐปูทางเดิน มีความแปลกใหม่ และมีค่าการรับแรงอัดอิฐบล็อกเฉลี่ย 120 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สูงกว่ามาตรฐาน มอก.58 สำหรับคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก เมื่อผสมนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ในส่วนผสมของอิฐทำให้ความร้อนของอิฐปูทางเดินลดลง เหมาะกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น</p> นลินี ณ นคร, สังวรณ์ งัดกระโทก, กาญจนา วัธนสุนทร, พิมพ์น้ำผึ้ง วรรณสาม Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/277190 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0700 การใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลเพื่อพยากรณ์ผลการเรียนจากพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชบนระบบการเรียนออนไลน์ STOU eLearning https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/270792 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล วิธีต้นไม้ตัดสินใจในการพยากรณ์ผลการเรียนจากพฤติกรรมการเรียนรู้บนระบบการเรียนออนไลน์ STOU eLearning ของนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาโท สาขาพยาบาลศาสตร์ ที่ลงเรียนในชุดวิชา ชุดวิชา 51715 การจัดการองค์การ ทรัพยากรมนุษย์ และคุณภาพการพยาบาล ภาคปลาย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 39 คน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) การรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการเรียนและผลการเรียนของนักศึกษาจากการใช้งานระบบ (log files) STOU eLearning ตลอด 1 ภาคการศึกษา 2) การเตรียมข้อมูล 3) การลดขนาดข้อมูล 4) การแปลงข้อมูล และ 5) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม RapidMiner ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแบบพยากรณ์ผลการเรียนจากพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาโท แบ่งเป็น 3 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางที่ 1 นักศึกษาที่เข้าเรียนไม่เกิน 376 ครั้ง โปรแกรมจะพยากรณ์ว่าสอบผ่าน (ได้เกรด S หรือ H) เส้นทางที่ 2 นักศึกษาที่เข้าเรียนมากกว่า 376 ครั้ง และได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โปรแกรมจะพยากรณ์ว่าสอบผ่าน (ได้เกรด S หรือ H) และเส้นทางที่ 3 นักศึกษาที่เข้าเรียนมากกว่า 376 ครั้ง แต่ไม่ได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โปรแกรมจะพยากรณ์ว่าสอบไม่ผ่าน (ได้เกรด U) 2) ประสิทธิภาพการพยากรณ์ผลการเรียนจากพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาโท พบว่า ความถูกต้องของการพยากรณ์การสอบผ่าน ร้อยละ 87.88 ความถูกต้องของการพยากรณ์การสอบไม่ผ่าน ร้อยละ 50.00 และความถูกต้องของการพยากรณ์ผลการเรียนจากพฤติกรรมการเรียนรู้ร้อยละ 84.62</p> พิมพ์ประภา พาลพ่าย , วชิระ พรหมวงศ์ Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/270792 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติเพื่อการวิจัย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/278373 สุพรรษา หลังประเสริฐ Copyright (c) 2024 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/278373 Thu, 20 Jun 2024 00:00:00 +0700