การตรวจสอบคุณภาพข้อสอบวัดสมิทธิภาพในการใช้ภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามกรอบการอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป

Main Article Content

ศจี
สุภมาส อังศุโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพข้อสอบ STOU-EPT (E-Testing) ตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป (The Common European Framework of Reference for Languages: CEFR) ในประเด็นเกี่ยวกับ (1) กระบวนการสร้างแบบทดสอบ (2) โครงสร้างแบบทดสอบแต่ละ part ตามเกณฑ์การสร้างข้อสอบของ CEFR (3) ความยากง่ายของข้อสอบรายข้อ (4) สัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบทดสอบแต่ละ Part แหล่งข้อมูลในการวิจัยประกอบด้วย แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการทดสอบภาษาอังกฤษตามกรอบ CEFR จำนวน 4 คน คณะกรรมการออกข้อสอบ จำนวน 1 คน และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ผลการตอบข้อสอบของผู้เข้าสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ STOU-EPT (E-Testing) จำนวน 800 คน ผลการวิจัยจำแนกตามประเด็นการตรวจสอบคุณภาพได้ดังนี้ (1) ขั้นตอนการพัฒนาแบบทดสอบมีการดำเนินการเริ่มจาก มหาวิทยาลัยได้ส่งตัวแทนคณะกรรมการออกข้อสอบเข้ารับการฝึกอบรมการพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษ ณ สถาบันที่มีความเชี่ยวชาญ จากประเทศสหราชอาณาจักร และได้พัฒนากรอบของแบบทดสอบ (test specifications) ในแต่ละสมรรถนะตามเกณฑ์ของ CEFR โดยมีผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นวิทยากรอบรม เป็นผู้ตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ (2) การพิจารณาโครงสร้างข้อสอบได้ผ่านความเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบของ CEFR และการดำเนินการของมหาวิทยาลัย การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบก่อนนำไปใช้ พิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และความสอดคล้องตามกรอบของ CEFR โดยนักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านการวัดและประเมินผลทางภาษาของประเทศสหราชอาณาจักร การใช้โปรแกรม Lexitutor ในการตรวจความเหมาะสมของระดับภาษา และ AWL list ตรวจสอบความเหมาะสมของการใช้คำศัพท์ทางวิชาการ ของข้อสอบ ส่วนมากมีระดับสูงกว่าเกณฑ์ CEFR (3) ความยากของแบบทดสอบ พบว่า มีความยากอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้คิดเป็นร้อยละ 88.00-100.00 (4) ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบทดสอบ โดยสูตร KR-20 Part 3 Reading มีความเที่ยงสูงสุด ค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .853 ถึง .893

Article Details

How to Cite
ศจี, & อังศุโชติ ส. (2021). การตรวจสอบคุณภาพข้อสอบวัดสมิทธิภาพในการใช้ภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามกรอบการอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 2(1), 27–35. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/253444
บท
บทความวิจัย

References

ชื่นจิตต์ อธิวรกุล และจิรดา วุฑฒยากร. (2561). การเทียบผลคะแนนแบบทดสอบสมิทธิภาพภาษาอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒกับกรอบมาตรฐานอ้างอิงสากลของยุโรป. Suranaree Journal of Social Science, 12(2): 69-84.
อลิสา วานิชดี และคณะ. (2551). รายงานการวิจัยเรื่อง พัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระบบการศึกษาทางไกล. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
Bradberry, T. (2016, January 19). Why attitude is more important than IQ. https://www.forbes.com/sites/
travisbradberry/2016/01/19/why-attitude-is-more-important-than-iq/ ?sh=2412c9d63bd0
Brown, L. M. (2006). Social Intelligence the New Science of Success. Business Book Review, 23(1), 1-11.
Cherniss, C. & Goleman, D. (2001). The emotionally intelligent workplace: how to select for, measure, and improve Emotional intelligence in individuals, groups, and organizations. San Francisco: Jossey-Bass.
Council of Europe. (2001). Common European Framework of reference for languages: learning, teaching, assessment. Cambridge University Press.
EF. (2019). EFSET Technical background report. Retrieved April 24, 2019 from https://www.efset.org/
th/english-score/cefr/
Goleman, D. (1995). Emotional intelligence: Why it can matter more than IQ. New York: Bantam Books.
Hay Group. (2011). The emotional and social competency inventory (ESCI) user guide. Hay Group.
Korn Ferry. (2017). Emotional and social competency inventory (ESCI) research guide and technical manual. Korn Ferry.
Landry, L. (2019). Why Emotional intelligence is important in leadership. https://online. hbs.edu/blog/post/
emotional-intel ligence-in-leadership
Luoma, S. (2004). Assessing speaking. Cambridge: Cambridge University Press.
Morrison, N. (2013, December 30). The eight characteristics of effective school leaders. https://www.forbes.com
/sites/nickmorrison/2013/12/30/the-eight-characteristics-of-effective-school-leaders/#21a4bf069762
Patterson, S. E. (2008). Primal leadership: realizing the power of Emotional intelligence [review] / Goleman, D., Boyatzis, R., and McKee, A.. Journal of applied Christian leadership, 2(2), 76-80.
The Consortium for Research on Emotional Intelligence in Organizations. (2012). The emotional competence framework. http://www.eiconsortium.org/pdf/emotional_competence_ framework.pdf
University of Bedfordshire. (2019). Centre for research in english language learning and assessment. Retrieved April 24, 2019 from https://www.beds.ac.uk/crella