การปฏิบัติที่ดีในการบริหารโครงการและหน่วยการวิจัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความ “การปฏิบัติที่ดีในการบริหารโครงการและหน่วยการวิจัย” เรื่องนี้ มุ่งอธิบายความหมายของการปฏิบัติที่ดี หลักการและแนวคิดในการบริหารจัดการโครงการและหน่วยการวิจัย และสังเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาที่มีวิธีการบริหารโครงการและหน่วยการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องมือ แนวทาง หรือเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องของการบริหารจัดการงานวิจัย โดยบทความนี้ได้ทำการทบทวนและสังเคราะห์วรรณกรรมจากตำรา หนังสือที่เกี่ยวกับแนวคิดต่าง ๆ ของการบริหารจัดการโครงการและหน่วยการวิจัย และจากรายงานการวิจัย รูปแบบการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ: กรณีศึกษา จำนวน 8 เรื่อง เพื่อค้นหา และ/หรือเปรียบเทียบแนวคิดของการปฏิบัติที่ดีในการบริหารโครงการและหน่วยการวิจัย ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การสรุปเป็นแนวคิดของการปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการโครงการ
และหน่วยการวิจัยที่พบและวิธีการบริหารโครงการและหน่วยการวิจัยให้ประสบความสำเร็จเพื่อประโยชน์แก่นักวิจัยและผู้ที่สนใจ
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการวารสาร จึงมิใช่ความรับผิดชอบของวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ บทความในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ
References
ผลิน ภู่เจริญ. (2556). ความพอดีที่มีพลวัตร: การคิดทบทวนใหม่เรื่องการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ทเอกพิมพ์ไทยด.
วิจารณ์ พานิช. (2540). การบริหารงานวิจัย แนวคิดจากประสบการณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
เอกกมล เอี่ยมศรี. (2554). กรอบแนวคิด 7s McKinsey. เข้าถึงจาก http://www.oknation.net/blog/newmanagement/2011/07/15/entry-1
Coronel, P., & Evans A. (1999). The balanced scorecard in faculties management for internal management and external benchmarking. Directors, Melbourne: Benchmarking PLUS.
Kaplan, R., & Nortan, D. (1996). Using a balanced scorecard as a strategic management system. Harvard Business Review, 74 (January-Febuary): 75-85.