การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความพึงพอใจในด้านเฉพาะเจาะจง: การประยุกต์โมเดลทฤษฎีการรู้ปัญญาทางสังคมในอาชีพ

Main Article Content

ชัยยุทธ กลีบบัว

บทคัดย่อ

มีงานวิจัยมากมายที่ได้เสนอโมเดลและทฤษฎีที่ช่วยในการศึกษาและทำนายความพึงพอใจในด้านเฉพาะเจาะจงต่าง ๆ (เช่น ความพึงพอใจในการทำงาน ความพึงพอใจการเรียน เป็นต้น) หนึ่งในทฤษฎีที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้และมีความครอบคลุมถึงสาเหตุของความพึงพอใจในแง่มุมต่าง ๆ ได้ดี คือทฤษฎีการรู้ทางปัญญาเชิงสังคมในอาชีพ (Social Cognitive Career Theory --SCCT) ดังนั้น ในงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์โมเดล SCCT เพื่อทำการศึกษาพัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในด้านเฉพาะเจาะจง ซึ่งโมเดลที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 3 ตัว คือ ความพึงพอใจในด้านเฉพาะเจาะจง การสนับสนุนทางสังคมและทรัพยากร และการรับรู้ความสามารถของตนเอง โดยทำการวิเคราะห์จากข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการประเมินผลการปฏิรูปการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติที่เก็บข้อมูลมาจากครู/อาจารย์ในสถานศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 เป็นจำนวน 1,512 คน ผลการวิจัยพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไคสแควร์ (Chi - square) มีค่าเท่ากับ 24.520, df = 15, p = 0.057 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.020 ค่า RMR เท่ากับ 0.003 GFI เท่ากับ 0.996, AGFI เท่ากับ 0.989 การรับรู้ความสามารถของตน และการสนับสนุนทางสังคมและทรัพยากรมีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจในด้านเฉพาะเจาะจง และการสนับสนุนทางสังคมและทรัพยากรมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในด้านเฉพาะเจาะจงทางอ้อมผ่านการรับรู้ความสามารถในตนเองด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิท หมื่นทา. (2545). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการเป็นผู้นำการปฏิรูปการศึกษาตามความคาดหวังของครูสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรีดา เบ็ญคาร. (2548). การส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนในกระบวนการพัฒนาการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นงลักษณ์ วิรัชชัย (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Duffy, R. D., & Lent, R. W. (2009). Test of a social cognitive model of work satisfaction in teachers [Electronic version]. Journal of Vocational, 75, 212-223.
Lent, R. W., & Brown, S. D. (2006). Intergrating person and situation perspectives on work satisfaction: A social-cognitive view [Electronic version]. Journal of Vocational Behavior, 69, 236-247.
Lent, R. W., Nota, L., Soresi, S., Ginevra, M. C., Duffy, R. D., & Brown, S. D. (2011). Predicting the job and life satisfaction of Italian teachers: Test of a social cognitive model [Electronic version]. Journal of Vocational Behavior, 79, 91–97.
Lent, R. W., Singley, D., Sheu, H., Gainor, K., Brenner, B. R., Treistman, D., et al. (2005). Social cognitive predictors of domain and life satisfaction: Exploring the theoretical precursors of subjective well-being [Electronic version]. Journal of Counseling Psychology, 52, 429-442.
Lent, R. W., Singley, D., Sheu, H., Schmidt, J. A., & Schmidt, L. C. (2007). Relation of social–cognitive factors to academic satisfaction in engineering students [Electronic version]. Journal of Career Assessment, 15, 87–97.
Lent, R. W., Taveira, M., & Lobo, C. (2012). Two tests of the social cognitive model of well-being in Portuguese college students [Electronic version]. Journal of Vocational Behavior, 80, 362-371.
Lent, R. W., Taveira, M., Sheu, H., &Singley, D. (2009). Social cognitive predictors of academic adjustment and life satisfaction in Portuguese college students: A longitudinal analysis [Electronic version]. Journal of Vocational Behavior, 74, 190–198.