การสร้างและสื่อสารตราพรรคอนาคตใหม่

Main Article Content

ปองคุณ รุ่งสว่าง
คมสัน รัตนะสิมากูล
เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์
ณัฐพงศ์ รักงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยการสร้างและสื่อสารตราพรรคอนาคตใหม่นี้มีวัตถุประสงค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างและสื่อสารตราพรรคอนาคตใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคพรรคอนาคตใหม่ พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่และเจ้าหน้าที่พรรคอนาคตใหม่ฝ่ายยุทธ์ศาสตร์พรรค จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลและวิจัยเอกสารจาก หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร เอกสารและเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพรรคอนาคตใหม่ ร่วมกับการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของพรรค เช่น การปราศรัย การหาเสียง โดยผู้วิจัยได้แยกแยะข้อมูลออกเป็นประเด็นตามประเภทหลังจากนั้น นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดเรื่องกระบวนการสร้างและสื่อสารตรามาเป็นกรอบในการทำความเข้าใจและอธิบายถึงกระบวนการสร้างและสื่อสารตราพรรคอนาคตใหม่


ผลการวิจัย พบว่า พรรคอนาคตใหม่มีกระบวนการสร้างพรรค 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ตราพรรคการเมือง พรรคอนาคตใหม่คืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีนิยมก้าวหน้า และเน้นความเป็นประชาธิปไตยที่ชัดเจน ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ ขั้นตอนที่ 3 ปฏิบัติการสร้างตรา พรรคอนาคตใหม่สร้างตราพรรคการเมืองด้วยจุดยืนฝ่ายซ้าย อุดมการณ์เสรีนิยมก้าวหน้าประชาธิปไตย ขั้นตอนที่ 4 การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับพรรคอนาคตใหม่ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสังคมและขั้นตอนที่ 5 ติดตามและการประเมินผลการสร้างพรรคอนาคตใหม่ ได้แก่ สำรวจความนิยม สำรวจการตระหนักรู้ถึงพรรคการเมืองและหัวหน้าพรรคอื่น นโยบายของพรรคอื่นและนโยบายที่ประชาชนต้องการเพื่อนำผลสำรวจมาใช้สร้างนโยบายที่กลุ่มเป้าหมายถูกใจและนำมาปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์


ด้านการสื่อสารตรา พรรคอนาคตใหม่ พบว่ามีการสื่อสาร 3 ขั้นตอน คือ 1. ใช้ตราสินค้าเป็นตัวสื่อสารเอง 2. การใช้สื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 3. การใช้การสร้างความสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

คณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 13 พ.ค. 2562 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

ดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย (2561, 4 มิถุนายน). ตั้งชื่อแบรนด์ให้โดน. Smartsme. https://www.smartsme.co.th/content/110588

ปฐมาพร เนตินันทน์. (2552). กระบวนการสื่อสารตราสินค้าของพรรคการเมืองไทย [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. ศูนย์ข้อมูลวิจัยดิจิตอล วช. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/273565

ปฐมาพร เนตินันทน์. (2554). การสังเคราะห์กระบวนการและกลยุทธ์การสร้างตราสินค้า. วารสารนักบริหาร, 31(2), 36-50.

ภาคภูมิ หรรนภา. (2564). การสื่อสารทางการตลาดเพื่อการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งปี 2562. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(2), 37-52.

วิสุทธิ์ ขันศิริ. (2565). กลยุทธ์การตลาดการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ ในการหาเสียงเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, 16(1), 184-222.

ศาสตรินทร์ ตันสุน. (2550). ความสำเร็จทางการเมืองและความเป็นสถาบันการเมืองของพรรคไทยรักไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:125685

Duncan, T. (2005). IMC: Using advertising and promotion to build brands (1st ed.). McGraw-Hill.

Ramandi, R. Y. (2019). The pattern of people's voting behavior in Iran based on political marketing approach. Political Knowledge, 14(2), 63-95.