การสื่อสารการลดอันตราย (Harm Reduction) จากการใช้สารเสพติดประกอบการมีเพศสัมพันธ์ (Chemsex) กรณีศึกษาการดำเนินงานมูลนิธิ Apcom
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหายาเสพติดยังคงเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของสังคมไทย และในปัจจุบันการแก้ไขปัญหาโดยแนวทางเศรษฐศาสตร์นั้นอาจยังไม่ประสบความสำเร็จเหมือนในอดีต รวมถึงในปัจจุบันได้มีการใช้ยาหรือสารเสพติดร่วมกับการมีเพศสัมพันธ์ หรือที่เรียกว่า Chemsex ซึ่งยิ่งทำให้เกิดผลกระทบกับผู้ใช้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะความเสี่ยงในด้านของสุขภาพ ทำให้ในปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดการลดอันตรายมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และปัญหาการใช้ยาหรือเสพติดประกอบการมีเพศสัมพันธ์ (Chemsex) โดยการศึกษาในครั้งนี้ ได้มีการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทความวิชาการ บทความออนไลน์ สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการ นักจิตวิทยาบำบัด และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการใช้ยาหรือเสพติดประกอบการมีเพศสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่าการใช้ Chemsex ประกอบไปด้วยหลายเหตุผลและมีความเป็นปัจเจกเป็นอย่างมาก การเข้ามาบริหารจัดการปัญหาเรื่อง Chemsex ไม่ใช่เพียงแค่ปัญหายาเสพติด ปัญหาสุขภาวะทางเพศ ปัญหาสุขภาพจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ผลการศึกษายังพบว่าปัญหาในการสื่อสารการลดอันตรายจาก Chemsex นั้นอยู่ที่ข้อจำกัดของกฎหมาย และความเข้าใจในแนวคิดการลดอันตรายของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ที่ยังไม่มีความเข้าใจในวิธีการดำเนินการตามแนวทางการลดอันตราย และยังพบว่าการดำเนินงานของมูลนิธิ Apcom เกี่ยวกับการลดอันตรายจาก Chemsex กับชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (Men who have sex with men) ผ่านโครงการ Test BKK นั้นใช้วิธีการสื่อสารทางการตลาดประกอบไปด้วย การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ข่าว การสื่อสาร หรือนำเสนอโดยบุคคล การตลาดเจาะตรง ผ่านช่องทางออนไลน์ประกอบไปด้วยเวปไซด์ TestBKK.com และสื่อสังคมออนไลน์ประกอบไปด้วย Facebook , Instagram , X นั้นประสบความสำเร็จมีกลุ่มเป้าหมายเข้ามาเยียมชมเวปไซด์ ซึ่งถือว่าเป็นประตูสำคัญของโครงการสูงถึง 3.5 ล้านครั้ง และสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
กระทรวงสาธารณสุข.(2560). แนวทางการดำเนินการลดอันตรายยาเสพติด (harm reduction). บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.
จารุณี ศิริพันธุ์, สุพจน์ ตั้งเสรีทรัพย์, และ พีราณี ศุภลักษณ์. (ม.ป.ป.). CHEMSEX 101.เรียนรู้ เข้าใจ เพื่อป้องกันและลดอันตรายที่เกิดจากการใช้ Chemsex ในประเทศไทย. สนับสนุนโดย LINKAGES Thailand FHI 360
ปรีชญาณ์ นักฟ้อน, อานุภาพ รักษ์สุวรรณ, กฤษฎา พรรณราย, สุธินี อัตถากร และกานต์รวี วิชัยปะ. (2564). นวัตกรรมเชิงนโยบาย: การลดอันตรายจากยาเสพติด. ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์.
พิบูล ทีปะปาล. (2534). หลักการตลาด. เยลโล่การพิมพ์.
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. (2560). ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ.2560 - 2573. บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด.
วรพล หนูนุ่น. (2556). การลดอันตราย (Harm reduction) และแนวทางการลดอุปสงค์ (Demand reduction) ยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย, การพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1(3), 1-16.
เทพพิทักษ์ มณีพงษ์.(2560, 27 มีนาคม). สุขดาร์คจากยาเสพติด : ความสุขที่ต้องเสี่ยง. the101.world. https://www.the101.world/dark-happiness-from-drug-addiction/
เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. ธรรมสาร.
สาร สุวัฒนา วงษ์กะพันธ์. (2530). การสื่อสารการตลาด. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศุภาพิชญ์ มณีนาค (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมยาเสพติดและอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์. NIDA Wisdom Repository. https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5243
ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย สมัครใจเข้าบำบัด ไม่เสียประวัติ ไม่มีความผิด. (2559, 8 ธันวาคม). ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/content/804597
Ben, C. (2018). 2nd European Chemsex Forum 2018. Berlin Germany. https://doi.org/10.1192/bjp.72.299.635
Edmundson, C., Heinsbroek, E., Glass, R., Hope, V., Mohammed, H., White, M., & Desai, M. (2018). Sexualised drug use in the United Kingdom (UK): A review of the literature. International Journal of Drug Policy, 55, 131-148.
Glynn, R. W. (2018). Chemsex, risk behaviours and sexually transmitted infections among men who have sex with men in Dublin. International Journal of Drug Policy, 52,9-15. https://doi.org/10.1016/j.drugpo.2017.10.008
Harm Reduction International. (2020). The global state of harm reduction 2020 (7th edition). https://www.hri.global/files/2021/03/04/Global_State_HRI_2020_BOOK_FA_Web.pdf
HM Government. (2017). 2017 Drug strategy. https://www.gov.uk/government/publications/drug-strategy-2017.
Kleiman, M., Caulkins, J.,& Hawken, A. (2011). Drugs and drug policy: What everyone needs to know. Oxford University Press.
Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning implementation andcontrol. (9th ed). Asimmon&Schuster.
Leon, K. (2018). 2nd European Chemsex Forum 2018. Berlin Germany.
Maxwell, S., Shahmanesh, M., & Gafos, M. (2019). Chemsex behaviours among men who have sex with men: A systematic review of the literature. International Journal of Drug Policy, 63, 74–89. https://doi.org/10.1016/j.drugpo.2018.11.014.
Pickton, D., & Broderick, A. (2001). Integrated marketing communication corporate communications: An international journal. Emerald Group Publishing.