การเปิดรับข้อมูลข่าวสารและทัศนคติที่มีต่อรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอำเภอบางคนที จ.สมุทรสงคราม

Main Article Content

ประพจน์ ณ บางช้าง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและระดับทัศนคติของประชาชนในอำเภอบางคนทีที่มีต่อข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอำเภอบางคนที จ.สมุทรสงคราม โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนในชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 400 คน และสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30-39 ปี เป็นเกษตรกร  รายได้ต่อเดือน 10,001-30,000 บาท และการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี


     พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรัฐบาลฯ พบว่า ส่วนใหญ่นิยมเปิดรับจากสื่อออนไลน์  เปิดรับโดยเฉลี่ย 5-6 วันต่อสัปดาห์ ลักษณะเนื้อหาที่เปิดรับคือชี้แจงผลการทำงานด้านการพัฒนาท้องถิ่น และเหตุผลที่เปิดรับเพราะต้องการทราบผลการทำงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นของรัฐบาล


     ประชาชนมีทัศนคติต่อข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรัฐบาลฯ โดยรวมทุกด้าน ในระดับเห็นด้วยมาก หรือมีทัศนคติในระดับดี (ค่าเฉลี่ย=3.71)  โดยมีระดับทัศนคติมากที่สุดในด้านความทันเหตุการณ์ ในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย=4.02)  รองลงมาคือด้านการประยุกต์ใช้ ในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย=3.96)  และมีระดับทัศนคติน้อยที่สุดในด้านความน่าเชื่อถือ  ในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย=3.44) 


ความคิดเห็นเพิ่มเติมที่สำคัญในเรื่องนี้ของประชาชนคือ รัฐบาลควรฟังเสียงความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น โดยนำนโยบายของรัฐบาลที่ดีอยู่แล้วมาประยุกต์ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมและส่งผลโดยตรงต่อการกินดีอยู่ดีของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น


การทดสอบสมมติฐานพบประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่เป็นเกษตรกรและมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีทัศนคติต่อข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรัฐบาลฯ ด้านความน่าเชื่อถือ ในระดับเห็นด้วยมากกว่าประชาชนที่มีอาชีพอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   


การอภิปรายผลการวิจัยพบประเด็นที่น่าสนใจได้แก่  ชาวบางคนทีเปิดรับข่าวสารจากสื่อออนไลน์ในปริมาณมาก เพื่อต้องการทราบผลการทำงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นของรัฐบาล, ทัศนคติต่อข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับดี ชาวบางคนทีชอบความทันเหตุการณ์ในข่าวสารของรัฐบาลมากที่สุด และน้อยสุดในด้านความน่าเชื่อถือ แม้จะเห็นด้วยมากก็ตาม, เสียงความต้องการที่แท้จริงของชาวชุมชนท้องถิ่น เป็นสิ่งที่รัฐบาลควรฟังเพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รายการอ้างอิง

ภาษาไทย
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ.(2560).แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560-2564. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จริยาวัฒน์ โลหะพูนตระกูล.(2551).การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนกรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นวันที่ 20 มิถุนายน 2561, จาก http://journal.hcu.ac.th/
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร,กระทรวง.(2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะพ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
นันทชา สำโรง.(2552) ทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อภาพลักษณ์ของกะเทยปรากฏในสื่อโทรทัศน์ ศึกษาเฉพาะนักศึกษาปริญญาตรี
ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาสื่อสารมวลชน.
เนาวรัตน์ โรจน์วิทยา.(2534).ทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการเพื่อแผ่นดินไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาสื่อสารมวลชน.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศน์.(2550).การพัฒนาชุมชน. กรมการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพฯ : บริษัท รำไทยเพรส จำกัด.
ปรมะ สตะเวทิน.(2546). หลักนิเทศศาสตร์, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรสันต์ เลิศวิทยาวิวัฒน์. (2549). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2561, จาก http://previously.doae.go.th/report/2549/270606/02.pdf
พีระ จิรโสภณ.(2539) “การเลือกสรรและการแสวงหาข่าวสาร” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 11. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภูวนาท คุนผลิน.(2556).แนวทางการจัดการเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำของไทยอย่างยั่งยืน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์,มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2540) หลักและทฤษฎีการสื่อสาร.ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มาลินี หาญยุทธ.(2551).รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษาตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
รัฐบาลไทย.(2560). งบประมาณแผ่นดินประจำปีงบประมาณ 2561.เผยแพร่เมื่อ 8 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม 2561 จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/dwtails/4403
วิษณุ หยกจินดา.(2557).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี.วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์.(2558). การพัฒนาการสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยวอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัย สนับสนุน
การวิจัยโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม และคณะ. (2550). ปัญหาการจัดการโฮมสเตย์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษากรณี อำเภอ
บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเกริก.
สุเทพ เพชรธรรมรัฐ.(2556) .วิสาหกิจชุมชนกับการพึ่งตนเอง : กรณีศึกษาศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านเขาถ้ำพระ ตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี.วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เสาวภา ไพทยวัฒน์ และคณะ. (2555). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานการวิจัย ทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง, สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ และทบวงมหาวิทยาลัย.(2546).
การมีส่วนร่วมของประชาชน.เอกสารอัดสำเนา.

ภาษาอังกฤษ
Denis McQuail. (1994). Mass Communication Theory : Introduction. London: Sage Publications.
Garther, W.C. (1996). Tourism development : Principle, processes and Policies. Van Nostrand Reinhole, USA.
Gale, R. (2005). Sustainable Tourism: The Environmental Dimensions of Trade Liberalization in China. D. Shrubsole and N. Watson (Eds.), Sustaining Our Futures: Perspectives on Environment, Economy and SocietyUniversity of Waterloo , Waterloo, Ontario.
Krstic, B., Jovanovics, S., & Milic, V.J. (2008). Sustainability performance management system of tourism enterprises. Economics and organization, 5 (2), 123-131.
United Nations. (1983). Popular participation as a strategy for promoting community level action and nation development. New York : United Nations.