ตำนาน “พระแก้วผลึกหมอก”: การเปรียบเทียบความหมาย ในบริบทวัฒนธรรมสยาม บรู และลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งเปรียบเทียบตำนาน “พระแก้วผลึกหมอก” ที่มีความหมายพลวัติตามบริบทวัฒนธรรมสยาม บรู และลาว โดยเมื่ออัญเชิญพระแก้วผลึกหมอกมาจากเมืองประเทศราชคือเมืองจำปาศักดิ์แล้ว ชนชั้นนำสยามได้อธิบาย “การได้พระแก้วผลึกหมอกมา” ด้วยอำนาจบุญบารมีของผู้ปกครอง เป็นพระพุทธรูปองค์เดียว กับพระแก้วขาวที่อยู่ที่เมืองเชียงใหม่ และเป็นเหตุนำความรุ่งเรืองมาแก่บ้านเมือง ขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์บรู (จำปาสัก สปป.ลาว) ผู้เป็นข่าที่พบพระแก้วผลึกหมอก ได้ให้ความหมายว่า พระแก้วผลึกหมอกเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเหตุให้พวกเขากลายเป็น “ข่าพระแก้ว” ได้รับสถานะพิเศษภายใต้การถูกปกครอง ในปัจจุบัน กลุ่มชาติพันธุ์บรู (ข่า) ได้ถูกกลืนกลายเป็นลาวทางวัฒนธรรมและการปกครอง แม้พระแก้วผลึกหมอกองค์จริงจะประดิษฐานที่ไทย แต่พวกเขาพร้อมกับคนลาวในท้องถิ่น ยังทรงจำและผลิตซ้ำตำนานและจิตวิญญาณความศักดิสิทธิ์ของพระแก้วผลึกหมอก รวมถึงมีการประกอบพิธีบูชาประจำทุกปี อันสะท้อนให้เห็นพลวัติความหมายของตำนานพระแก้วผลึกหมอกที่มิได้มีความหมายต่อชนชั้นนำสยามเท่านั้น แต่ยังมีความหมายต่อคนท้องถิ่นผ่านการต่อรองนิยามความหมาย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2484). ประชุมพงศาวดารภาคที่ 70 เรื่องเมืองนครจําปาศักดิ์. กรุงเทพฯ: ศิลปากร.
กรมศิลปากร. (2545). พระพุทธรูปสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
เกียรติศักดิ์ บังเพลิง. (2558). ชุมชนชาติพันธุ์ "บรู" ร่วมสมัยบนพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว: วิถีชีวิตและการปรับตัวทางวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
______. (2558). พระครูโพนสะเม็ก: ตัวตนทางประวัติศาสตร์และบทบาททางพุทธศาสนากับสังคมการเมือง (รายงานวิจัย). มหาสาคาม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดำรงราชานุภาพ. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา. (2511). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
______. (2556). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร.
เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2530). ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร ์และมนุษยศาสตร์.
ทิพากรวงศ์. เจ้าพระยา. (2553). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 2 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขําบุนนาค) จากต้นฉบับตัวเขียนของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการพร้อมคำอธิบายเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
______. (2555). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขํา บุนนาค). กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
ธีระพันธ์ ล. ทองคํา. (2544). ภาษาของนานาชนเผ่าในแขวงเซกองลาวใต้. กร ุงเทพฯ: สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2503). ราชอาณาจักรลาว. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2475). ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภาคที่่ 4 หมวดโบราณสถานและโบราณวัตถุ. กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรณธนากร.
พระพรหมเทวานุเคราะห์และเจ้าราชวงศ์เมืองนครจําปาศักดิ์. (2484). พงศาวดารนครจําปาศักดิ์ฉบับพระพรหมเทวานุเคราะห์และเจ้าราชวงศ์เมืองนครจําปาศักดิ์, ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 70 เรื่องเมืองนครจําปาศักดิ์. กรุงเทพฯ: ศิลปากร.
พระยามหาอํามาตยาธิบดี. (2484). พงศาวดารนครจําปาศักดิ์ฉบับพระยามหาอํามาตยาธิบดี, ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 70 เรื่องเมืองนครจําปาศักดิ์. กร ุงเทพฯ: ศิลปากร.
ภูมิวิไล ศิริพลเดช. (2550). เพศภาวะและการพัฒนาในสังคมชนบทลาว (วิระดา สมสวัสด ิ์บรรณาธิการ). เชียงใหม่: วนิดาเพลส.
วิราวรรณ นฤปีติ. (2560). การเมืองเรื่องพุทธรูป. กรุงเทพ: มติชน.
หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐมคเณจร). (2484). พงศาวดารนครจําปาศักดิ์ฉบับหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐมคเณจร), ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 70 เรื่องเมืองนครจําปาศักดิ์. กรุงเทพฯ: ศิลปากร.
Baird, I. G., & Bruce, Shoemaker. (2008). People, Livelihoods, and Development in the Xekong River Basin, Laos. Bangkok: White Lotus Press.
Nguyen, V. T. (2007). Ambiguity of Identity: The Mieu in North Vietnam. Bangkok: O.S. Printing House.
ກົມຊົນເຜົາ. (2008).ບັນດາຊົນເຜົາໃນສປປ.ລາວ. ວຽງຈັນ : ກົມຊົນເຜົາ.