การแปรการใช้ศัพท์ในภาษาไทดำของคนสามระดับอายุ

Main Article Content

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการแปรการใช้ศัพท์ในภาษาไทดำของคนสามระดับอายุ ใน 4 จังหวัด คือ จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี  ใช้หน่วยอรรถจำนวน 650 หน่วยอรรถ แบ่งผู้บอกภาษาเป็น 3 ระดับอายุ ผลการวิจัยพบว่าผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 1 จะใช้ศัพท์ไทดำมากที่สุดและลดลงในผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 2 และ 3 ขณะที่ผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 3 จะใช้ศัพท์อื่นแทนศัพท์ไทดำมากที่สุดและลดลงในผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 2 และ 1 ชุมชนที่รักษาการใช้ศัพท์ไทดำทั้งสามระดับอายุมากที่สุดคือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ชุมชนที่ใช้ศัพท์ไทดำน้อยที่สุดคือ ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ด้านหมวดคำพบว่าหมวดคำถาม คำเชื่อม ลักษณนาม คำบอกเวลาใช้ศัพท์ไทดำมากที่สุด ส่วนหมวดวัตถุ สถานที่ ใช้ศัพท์อื่นมากที่สุด โดยศัพท์ไทดำจะใช้ในความหมายแคบเข้า และศัพท์อื่นจะใช้ในความหมายกว้างออก ทำให้เกิดการสูญศัพท์ไทดำในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เลี่ยมประวัติ ส. (2022). การแปรการใช้ศัพท์ในภาษาไทดำของคนสามระดับอายุ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 17(1), 55–83. https://doi.org/10.14456/lartstu.2017.3
บท
บทความวิจัย