รูปเบี่ยงบังระดับคำและหน้าที่ในบทความวิจัยภาษาไทย ด้านวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์

Main Article Content

วรวรรณา เพ็ชรกิจ
เพ็ญศิริ รัศมี
Yuji Furuhashi
สุวคนธ์ พิญญาณ

บทคัดย่อ

รูปเบี่ยงบัง เช่น ʔà:tcàʔ (อาจจะ) kh ̂:nkhâ:ŋ (ค่อนข้าง) khâ:twâ: (คาดว่า) เป็นลักษณะภาษาแบบหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในงานเขียนประเภทบทความวิจัยภาษาไทย และ เป็นรูปภาษาที่ทำหน้าที่ช่วยลดความชัดเจนของถ้อยคำหรือลดความมั่นใจในการกล่าวประพจน์ของถ้อยคำ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาจำแนกรูปเบี่ยงบังระดับคำ เปรียบเทียบความถี่ในการปรากฏ พร้อมทั้งวิเคราะห์หน้าที่ของรูปเบี่ยงบังในส่วนสรุปและอภิปรายผลของบทความวิจัยภาษาไทยด้านวิทยาศาสตร์และด้านมนุษยศาสตร์จาก 2 สาขาวิชาย่อย ได้แก่ ด้านครุศาสตร์และภาษาศาสตร์ ผลการศึกษาพบการใช้รูปเบี่ยงบังที่เป็นคำช่วยกริยา คำวิเศษณ์ คำกริยา และคำนาม เพื่อช่วยลดความมั่นใจในการกล่าวถ้อยคำในบริบทต่างๆ เช่น การตีความผลการวิจัย และการนำเสนอแนวทาง การทำวิจัยในอนาคต เป็นต้น และพบว่าความถี่ของรูปเบี่ยงบังในบทความวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น มีน้อยกว่าในบทความด้านมนุษยศาสตร์ และเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างบทความวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ด้วยกันเองพบรูปเบี่ยงบังในบทความวิจัยด้านภาษาศาสตร์ในปริมาณที่มากกว่า ในบทความวิจัยด้านครุศาสตร์ งานวิจัยนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยภาษาวิชาการต่อไปในอนาคต

Hedges such as ʔà:tcàʔ (maybe) kh ̂:nkhâ:ŋ (somewhat) khâ:twâ: (speculate) are forms of language that are commonly found in Thai research articles (RAs) and can help reduce the degree of certainty, or the degree of confidence, in expressing propositions of utterances. This study analyzed and categorized lexical hedges, and their functions, in the discussion and conclusion sections of Thai RAs in the areas of sciences and humanities, including RAs from the areas of education and linguistics. The results show that Thai writers use hedges which can be categorized into groups of helping verbs, adverbs, verbs and nouns when interpreting their results and giving recommendations for future research. Moreover, hedges are found less in Thai scientific RAs when compared with humanities RAs. However, the number of hedges in linguistics RAs is much higher than those from the field of education. This study should be beneficial for future studies on Thai academic language.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เพ็ชรกิจ ว., รัศมี เ., Furuhashi, Y., & พิญญาณ ส. (2016). รูปเบี่ยงบังระดับคำและหน้าที่ในบทความวิจัยภาษาไทย ด้านวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 16(2), 173–198. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/73723
บท
บทความวิจัย