การแปรและการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ภาษาไทดำ ตามภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์การแปรและการเปลี่ยนแปลงวรรณยุกต์ตามภูมิภาคของภาษาไทดำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พูดอยู่ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและในประเทศไทย โดยใช้กรอบความคิดทางภาษาศาสตร์เปรียบเทียบเชิงประวัติและแนวคิดทางภาษาศาสตร์เชิงสังคม มาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ต่างช่วงเวลาและการแปรเสียงวรรณยุกต์ต่างถิ่นกันของภาษาไทดำ
ผลการวิจัยพบว่าผู้พูดภาษาไทดำปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงรักษาระบบวรรณยุกต์ การแยกเสียงรวมเสียงของวรรณยุกต์ และสัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทดำดั้งเดิมไว้ได้ ยกเว้นสัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ในแถว A ของภาษาไทดำในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปเกือบสมบูรณ์แล้ว และส่งผลให้จำแนกไทดำออกเป็นสองกลุ่มย่อยคือ ไทดำกลุ่มตะวันตกและไทดำกลุ่มตะวันออก เฉพาะวรรณยุกต์ที่ 1 (A123) ของภาษาไทดำกลุ่มตะวันออกพบว่าการแปรของเสียงวรรณยุกต์มีแนวโน้มจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสัทลักษณะดั้งเดิมไปเป็นเสียงกลางต่ำ-ขึ้น-ตก [242] อย่างสมบูรณ์ในอนาคต
This research paper is an analysis of regional variation and change of Tai Dam tones in Southeast Asia spoken in three countries: Vietnam, Laos and Thailand. The historical comparative method in linguistics and sociolinguistic variation were employed as the theoretical framework for this tonal study.
The research found that most modern Tai Dam speakers have maintained the tone splits and coalescences, and the phonetic characteristics of tones of the Proto Tai Dam. However, the phonetic characteristics of tones in the tone category A of Tai Dam, which were used in Thailand, have changed almost completely. As a result, Tai Dam can be classified into two major dialects: Western Tai Dam and Eastern Tai Dam. Only tonal variation of tone 1 (A123) in Eastern Tai Dam is likely to be completely changed to [242] in the future.