เสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยออกเสียงโดยเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน: การศึกษาลักษณะกลสัทศาสตร์

Main Article Content

ผณินทรา ธีรานนท์ และ ธนวัฒน์ เดชชนะรัตน์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยออกเสียงโดยเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยินจำนวน 10 คน อายุ 9-11 ปี เด็กทุกคนเป็นเด็กที่มีภาวะความหูตึงระดับปานกลาง (moderate hearing loss) และใส่เครื่องช่วยฟัง (hearing aids) ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากเด็กปกติที่มีอายุเท่ากันจำนวนอีก 10 คน เพื่อเป็นค่าเปรียบเทียบมาตรฐานด้วย ผู้วิจัยให้เด็กกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มออกเสียงคำที่มีวรรณยุกต์ในภาษาไทย 5 ชุด ควบคุมเสียงพยัญชนะต้นให้เป็นเสียงพยัญชนะต้นริมฝีปากกักไม่ก้องไม่พ่นลม (-) เสียงพยัญชนะต้นริมฝีปากกักไม่ก้องพ่นลม (-) เสียงพยัญชนะต้นริมฝีปากกักก้อง (-) เสียงพยัญชนะต้นริมฝีปากนาสิก (-) และเสียงพยัญชนะต้นกักที่เส้นเสียง (-) เพื่อขจัดอิทธิพลของเสียงพยัญชนะต้นที่มีต่อค่าความถี่มูลฐาน งานวิจัยนี้วิเคราะห์ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงวรรณยุกต์โดยใช้โปรแกรม Praat 4.09.2 โดยวัดค่าระยะเวลา ค่าความเข้ม และค่าความถี่มูลฐานหรือค่าเซมิโทน งานวิจัยนี้ยังได้เปรียบเทียบผลการวิจัยลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยออกเสียงโดยเด็กปกติกับที่ออกเสียงโดยเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน ผลการวิจัยพบว่า ระดับเสียงวรรณยุกต์ที่ออกเสียงโดยเด็กปกติสูงกว่าของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน เสียงวรรณยุกต์สามัญและเสียงวรรณยุกต์เอก ซึ่งจัดอยู่ในเสียงวรรณยุกต์ระดับมีลักษณะการขึ้นลงไม่แตกต่างกันในเด็กทั้งสองกลุ่ม แต่เสียงที่เป็นเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ เช่น เสียงวรรณยุกต์โท เสียงวรรณยุกต์ตรี และเสียงวรรณยุกต์จัตวา ที่ออกเสียงโดยเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยินมีลักษณะการขึ้นลงของระดับเสียงไม่ชัดเจนเท่ากับที่ออกเสียงโดยเด็กปกติ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าในเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยินระดับปานกลางและใส่เครื่องช่วยฟังแล้ว ควรได้รับการฝึกออกเสียงคำที่มีเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ เช่น เสียงวรรณยุกต์โท เสียงวรรณยุกต์ตรี และเสียงวรรณยุกต์จัตวาเพิ่มมากขึ้น

 คำสำคัญ  วรรณยุกต์ ภาษาไทย เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน

 

     This study aims at analyzing acoustic characteristics of 5 Thai tones namely mid, low, falling, high, and rising. Duration, intensity, and fundamental frequency or semitones were measured by using Praat 4.09.2. The informants were divided into 2 groups: normal children and moderate hearing loss children wearing hearing aids aged between 9-11 years old. They were asked to pronounce Thai tones with initial unaspirated bilabial stop (-), aspirated bilabial stop (-), voiced bilabial stop (-), bilabial nasal (-), and glottal stop (-). It was found that pitch height of the tones pronounced by the normal children is higher than those pronounced by the hearing loss children. Mid tone and low tone, which are in level tone category, are similar among the two groups. However, contour tones, i.e. falling tone, high tone, and rising tone, are obviously different. These tones pronounced by the hearing loss children are found to be acoustically steeper in shape comparing to that of the normal children. It is suggested that contour tones should be intensively practiced for the hearing loss children wearing hearing aids.

 Keywords:  Tones, Thai Language, Hearing Loss Children 

 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ธนวัฒน์ เดชชนะรัตน์ ผ. ธ. แ. (2016). เสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยออกเสียงโดยเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน: การศึกษาลักษณะกลสัทศาสตร์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 15(2), 213–231. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/46208
บท
บทความวิจัย