ระบบแม่ [กะเทย]: ศิลป์และศาสตร์การครองอำนาจนำในสังคมกะเทยไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศิลป์และศาสตร์การใช้อำนาจนำ โดยมองผ่านแนวคิดเรื่อง สังคมการเมือง (Political Society) และประชาสังคม (Civil Society) ของกรัมชี่ในการครองอำนาจนำ “ระบบแม่” ของกะเทยอาวุโส และเปรียบเทียบ “ระบบแม่” กับระบบอุปถัมภ์ของกะเทยในสังคมไทย โดยผู้เขียนใช้วิธีวิทยาการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Approach) ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตำรา หนังสือ เอกสารวิชาการ บทความวิชาการ ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กะเทยนางโชว์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลปัญหาโสเภณีกะเทยในเมืองท่องเที่ยว เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงศิลป์และศาสตร์การครองอำนาจนำของกะเทยอาวุโส และทำความเข้าใจระบบแม่ ผ่านการเปรียบเทียบกับระบบอุปถัมภ์ของกะเทยในสังคมไทย โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเขียนบรรยายแบบเล่าเรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ระบบแม่กะเทยเป็นกระบวนการที่อยู่ภายใต้แนวคิดการครองอำนาจนำ ผ่านการใช้ศิลป์ศาสตร์ เพื่อยึดพื้นที่ทางกายภาพและจิตใจได้อย่างแนบเนียน และระบบอุปถัมภ์มีความหมายและกลไกการทำงานคล้ายกับระบบแม่กะเทย เพียงแตกต่างกันในบริบทของคำเรียกเท่านั้น
คำสำคัญ ระบบแม่ กะเทย การครองอำนาจนำ ระบบอุปถัมภ์ กรัมชี่
This paper aims to analyze ‘Mother Clanship’ in Thai society through the concept of Gramsci’s political-civil society. In addition, the authors scrutinize the Mother Clanship via a traditional notion of ‘patronage system’. Research methodologies employed to conduct this paper include documentary research, in-depth Interviews, content analysis, and narrative techniques.
This paper finds that, firstly, Mother Clanship system in Thailand is based on both ‘art’ and ‘science’-civil society and political society, such as the utilization of physical and mental Kathoeys’ space. Secondly, the Thai patronage system works similarly to the Mother Clanship in the Thai society. The difference just depends on the social context.
Keywords: Mother Clanship, Kathoeys, Hegemony, Patronage System, Gramsci