Laughing Out the Problem: Laughter as an emotional uplifting tool in telephone counseling

Main Article Content

Worraporn Chamnanslip, Jantima Angkapanichkit

บทคัดย่อ

This paper explores the use of laughter in telephone counseling sessions where problems were intensively discussed. The purpose of this study is to examine why and how laughter is used in the context of counseling. The data were collected from Hotline 1323 run under supervision of The Thailand Mental Health
Department. Thirty conversations, totaling 782 minutes, were recorded. The analysis revealed that laughter in telephone counseling is not an indicator of humor, but it is interactively constructed as a counseling tool used by the counselors and the clients. Clients, on the one hand, tend to use laughter as a tool of introducing themselves and their life problems. The counselors, on the other hand, use laughter to build rapport, and to diffuse stress in the counseling session. It is argued that laughter can be used strategically as a means of
mental health communication for managing stress and emotions of people when interacting with each other as well as when facing troubles talk. It is also argued that laughter can be accounted as a form of social mediation for people’s actions.

 

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการใช้การหัวเราะในการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ข้อมูลในการวิจัยได้มาจากการบันทึกบทสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างผู้ให้และผู้รับคำปรึกษาจากบริการ 1323 สายด่วนสุขภาพจิต ในการดูแลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 30 บทสนทนา มีความยาว 782 นาที ผู้วิจัยเก็บข้อมูลตามหลักจริยธรรมการทำวิจัยในคน ผลการวิจัยพบว่า การหัวเราะในการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์มิใช่เป็นเครื่องบ่งชี้ที่แสดงความขบขัน แต่ถูกใช้ในฐานะเป็นเครื่องมือของการปรึกษา ผู้รับคำปรึกษามักจะใช้การหัวเราะเป็นเครื่องมือในการเริ่มต้นพูดถึงปัญหาและแนะนำตัวเอง ในขณะที่ ผู้ให้คำปรึกษาจะใช้การหัวเราะเพื่อสร้างความสนิทใจกับผู้รับคำปรึกษา และลดบรรยากาศที่ตึงเครียดระหว่างการให้คำปรึกษา ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า การหัวเราะในการให้คำปรึกษาไม่ได้เป็นเครื่องสนองต่ออารมณ์ขันเหมือนการหัวเราะในบริบททั่วไป แต่เป็นกลวิธีทางการสื่อสารเชิงสุขภาพจิตที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการทางอารมณ์และความเครียดของบุคคลเมื่อต้องปฏิสัมพันธ์กัน และเมื่อต้องเผชิญกับการพูดเรื่องปัญหา การหัวเราะอาจจัดเป็นเครื่องมือการสื่อสารอย่างหนึ่งในกิจกรรมทางสังคมของคน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
Jantima Angkapanichkit, W. C. (2015). Laughing Out the Problem: Laughter as an emotional uplifting tool in telephone counseling. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 15(1), 133–148. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/41193
บท
บทความวิจัย