การวิเคราะห์ระบบเสียงวรรณยุกต์ของชาวกรุงศรีอยุธยาจากเสียงเจรจาโขนและจินดามณี

Main Article Content

วริษา กมลนาวิน

บทคัดย่อ

      โขนเป็นการละเล่นศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา การเล่นโขนจึงจำเป็น
ต้องมีการรักษาขนบธรรมเนียมเดิมไว้ ดังนั้น เสียงเจรจาโขนจึงมีการเปลี่ยนแปลงน้อย
และยังอาจสะท้อนให้เห็นลักษณะสำเนียงของผู้คนในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็เป็นได้ นอกจาก
นี้ หนังสือจินดามณีสองฉบับซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมีเนื้อหาส่วนหนึ่งที่
สอนวิธีการผันเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียง เนื้อหาในหนังสือจินดามณีจึงเป็นหลักฐานสำคัญ
อีกชิ้นหนึ่งที่แสดงถึงวิธีการออกเสียงวรรณยุกต์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในบทความ
นี้ผู้วิจัยต้องการวิเคราะห์ระบบเสียงวรรณยุกต์ของชาวกรุงศรีอยุธยาด้วยการนำเสียงเจรจา
โขนมาเปรียบเทียบกับวิธีการผันเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏในหนังสือจินดามณีทั้งสองฉบับ
เพื่อให้ทราบว่าเสียงเจรจาโขนมีความสอดคล้องกับสิ่งที่ที่สอนไว้ในหนังสือจินดามณีหรือไม่
จากนั้น ผู้วิจัยได้นำผลการศึกษาเสียงเจรจาโขนมาเปรียบเทียบกับระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษา
ไทยถิ่นกลางในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการแตกตัวและรวมตัวของเสียง
วรรณยุกต์ รวมทั้งสัทลักษณะของเสียงเจรจาโขนและระบบเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่น
กลางว่ามีความคล้ายหรือแตกต่างกันอย่างไร
      ผลการศึกษา พบว่าเสียงเจรจาโขนมีลักษณะกึ่งร้องกึ่งพูด แต่ถึงกระนั้นระบบเสียง
วรรณยุกต์จากบทเจรจาโขนก็ยังมีความสอดคล้องกับระบบเสียงวรรณยุกต์ที่ผู้วิจัย
ตีความจากคำอธิบายในหนังสือจินดามณี และเมื่อผู้วิจัยนำระบบเสียงวรรณยุกต์จากบท
เจรจาโขนมาเปรียบเทียบกับระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นกลางที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว
พบว่าเสียงเจรจาโขนเป็นสำเนียงของภาษาไทยถิ่นกลางแน่นอน แม้จะต่างจากระบบเสียง
วรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นกลางในแง่ของสัทลักษณะอย่างมาก แสดงว่าภายในช่วง 300
กว่าปีที่ผ่านมานับจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจวบจนถึงปัจจุบัน เสียงวรรณยุกต์
ในภาษาไทยถิ่นกลางได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในแง่ของระดับ
เสียงสูงเสียงต่ำและทิศทางการเคลื่อนที่ของเสียงวรรณยุกต์

      “Khon” is a tradition Thai masked play that can be traced back to
the Ayudhya period. One of the Khon recitations, known as ‘kham ceraca’,
or dialogue, has been resistant to change due to the unique nature of the play.
The accent of Khon dialogue should therefore reflect the tonl system of
Ayudhya speakers to a certain extent. In the old Ayudhya period, the very first
Thai – language textbooks, both known as ‘Cindamani’, also bear some
evidence of the tonal system of the time, as the authors described the Thai
tonal distributions and even explained how to pronounce them. This paper
compares the tonal system of Khon with the tonal distributions that were
explained in Cindamani. It is found that Khon recitation is a combination of
rhythmic prose as well as some type of singing. Yet its tonal system shows
some correlation with those of the two Cindamani’s. It is also found that
Khon recitation is indeed the accent of Central Thai dialect. However, the
pitch height and shape of Khon recitation are very different from those
of the tonal systems of other Central Thai dialects in the present. Such
differences indicate how tone may change through time in terms of pitch
height and shape, at least over the 300 years since the old Ayudhya period.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
ภาษา
Author Biography

วริษา กมลนาวิน, ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์