จริยศาสตร์สำนักขงจื่อ: ระหว่างอัตตาณัติ กับ ความเป็นตัวเองที่เที่ยงแท้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยายามตอบโจทย์ปัญหาเรื่องความสำคัญ ของอัตตาณัติในจริยศาสตร์ของสำนักขงจื่อ ข้าพเจ้าจะวิเคราะห์ให้เห็นว่าการตั้งคำถามประเด็นเรื่องอัตตาณัติต่อจริยศาสตร์ของสำนักขงจื่อนั้นไม่ถูกต้องเพราะว่ามันเป็นการตั้งคำถามที่มาจากฐานความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ที่แตกต่างไปจากของขงจื่อ เมื่อพิจารณา ‘เหริน’ ซึ่งเป็นแนวคิดหลักหนึ่งของปรัชญาขงจื่อโดยตีความมันในฐานะที่สื่อนัยถึงภาวะระหว่างมนุษย์ มันจะแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่สำคัญต่อจริยศาสตร์ของขงจื่อมากกว่าคือ เรื่องของตัวตนและความเป็นตัวเองที่เที่ยงแท้ ซึ่งนอกจากจะตอบโต้การโจมตีจริยศาสตร์ของสำนักขงจื่อด้วยประเด็นเรื่องอัตตาณัติแล้ว ยังจะนำเสนอความเป็นไปได้ที่หลากหลายในเชิงจริยศาสตร์
This paper discusses the issue of the importance of autonomy in Confucian ethics. I will analyze and draw attention to the premise that it is not valid to question Confucian ethics from the problem of autonomy because it is a question that comes from understanding human beings that is different from that of Confucius. When we examine 'Ren', which is the tenant of the Confucius’s philosophy, by interpreting it as it implies to human ontological relations, it shows that what is more important to Confucian ethics is the notion of the self and authenticity. In addition to responding to the attack on Confucian ethics from the problem of autonomy, my discussion will also offer more possibilities in terms of ethics.