คณิตศาสตร์ในประวัติศาสตร์อิสลาม: กรณีศึกษาอัลควาริซมี
Main Article Content
บทคัดย่อ
อัลควาริซมีเป็นนักคณิตศาสตร์อิสลามซึ่งมีชื่อเสียงที่สุด หนังสือทีเขาเขียนเป็น
ทียอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะต้นกำเนิดของพีชคณิต เพราะเขาได้คิดค้นกระบวนการ
และขั้นตอนวิธีพื้นฐานบางประการที่ขาดไม่ได้ในการเรียนวิชาพีชคณิตเบื้องต้นใน
ปัจจุบัน บทความนี้กล่าวถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ในช่วงชีวิตของอัลควาริซมี ซึ่ง
เกี่ยวโยงกับแง่มุมทางปรัชญาบางประการในศาสนาอิสลาม เส้นทางการถ่ายทอดความรู้
ของกรีกมาสู่โลกอิสลาม และบทบาทของชนชั้นปกครองราชวงศ์อับบาสิด หากขาดซึ่ง
ปัจจัยเหล่านี้ แทบเป็นไปไม่ได้ที่อัลควาริซมีจะเสนอแนวคิดทางพีชคณิตของเขาอย่าง
เป็นระบบผ่านเรขาคณิต แต่ในขณะเดียวกัน ข้อเสนอที่เขาสังเคราะห์ขึ้นก็แตกต่างจาก
แนวคิดอื่น ๆ ที่เขาหยิบยืมมาอย่างเห็นได้ชัด และปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาทำได้เหนือกว่าใน
เรืองการแก้สมการกำลังสอง นอกจากโลกอิสลามจะช่วยเก็บรักษาภูมิปัญญาสมัย
คลาสสิกแล้ว ยังให้โอกาสยุโรปได้รู้จักกับพีชคณิตผ่านการแปลเป็นภาษาละติน
นับตั้งแต่นั้น พีชคณิตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาคณิตศาสตร์ของยุโรปและมี
บทบาทสำคัญในพัฒนาการของคณิตศาสตร์สมัยใหม่
Al-Khwarizmi is the most famous Islamic mathematician. One of his
publications is widely accepted as the origin of algebra because he created
some basic procedures and algorithms that are indispensable in today’s
elementary algebra courses. This article provides the historical background of
al-Khwarizmi’s life which related to some philosophical aspects of Islam, the
path of Greek knowledge that was transferred to the Islamic world, and the role
of Abbasid rulers. Without these factors, it is almost impossible for him to
systematically propose his algebraic ideas through geometry. But at the same
time, the thesis that he synthesized was fundamentally disparate from any idea
that came before, and undeniably more effective in solving the quadratic
equation. Apart from preserving Classical knowledge, the Islamic world also
introduced algebra to Europe, through translation into Latin. Algebra, then, was
a part of European mathematical learning and played a significant role in the
development of modern mathematics.