"The Dead" of the Reader

Main Article Content

Korphong Witchayapakorn

บทคัดย่อ

      This article compares Wolfgang Iser’s schematized view concept, or gap,
with Jacques Lacan’s concept of lack to show that a gap-lack in any text does not
constitute a text as a mere object in the power relationship between the reader and
the text. In the first part, James Joyce’s “The Dead” is used as an object of study to
observe the power structure between the reader and the text through Iser’s theory of
gap. The analysis reveals that the reader is the subject in the power relationship as
she is the subject with meaning. The text is shown as a meaningless object; its
heterogeneous meanings can only be externally derived. In the other part, when
writing activity or text’s development is compared to lacanian subject’s psyche
development, it is revealed that Iser’s gap functions similarly to Lacan’s lack. A lack is
considered to be one of the significant aspects of a lacanian (in)complete subject
because it constitutes an insatiable desire in the subject: a subject whose causeobject
of desire is ever-substituted (objet a). This means that the reader is the causeobject
of desire for the text-subject. The polyvocality of interpretation and reading
causes the desire of the text to ever flow, preserving the text’s status as a literaturemachine.
Thus, a new power relationship between the text and the reader is
constituted: a kind of relationship where power lies between the process of the
interaction between the reader and the text, not on one side or the other.

      บทความชิ้นนี้นำทฤษฎีที่ว่าด้วยช่องว่างในตัวงานเขียน (gap) ของนักวิจารณ์
กระแสรีดเดอร์-เรสปอนส์ วูลฟ์แกง ไอเซอร์ (Wolfgang Iser) มาเปรียบเทียบกับแนวคิด
เรื่องความขาด (lack) ของนักจิตวิทยาฌ๊าคส์ ลาก็อง (Jacques Lacan) เพื่อทำให้เห็น
ว่าช่องว่างในงานเขียนนั้นไม่ได้ทำให้ตัวงานเขียนมีความสำคัญน้อยกว่าตัวผู้อ่าน
แต่อย่างไร ในส่วนแรกของบทความ เป็นการวิเคราะห์เรื่องสัน! เดอะเดท (The Death)
ของเจมส์ จอยซ์ (James Joyce) ตามแนวทฤษฎีช่องว่างในงานเขียนเพื่อทำให้เห็น
โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างตัวผู้อ่านกับงานเขียนในแบบทฤษฎีดังกล่าว
สิ่งที่พบคือผู้อ่านเป็นองค์ประธานหรือผู้สร้างความหมายในความสัมพันธ์ ในขณะที่
ตัวงานเขียนเป็นวัตถุที่ถูกกระทำ เพราะตัวงานเขียนนั้น ถูกมองเป็นวัตถุที่ปราศจาก
ความหมายภายในตัวที่พึงการสร้างความหมายที่ไม่เป็นปัจเจกจากภายนอกตลอด ใน
ส่วนที่สองของบทความเมื่อการเขียนหรือการสร้างงานเขียนถูกนำมาเปรียบเทียบกับ
ทฤษฎีการพัฒนาอัตบุคคลในแบบลาก็องแล้วนั้นทำให้เห็นว่า ช่องว่างในตัวงานเขียนนั้น
มีลักษณะคล้ายกับความขาดแบบลาก็อง ความขาดคือส่วนสำคัญในการสร้างอัตตะแบบ
ลาก็อง เพราะทำให้อัตบุคคลปรารถนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยวัตถุและเหตุแห่ง
ความปรารถนานั้น ไม่มีค่าตายตัว (objet a) ด้วยเหตุนี้ตัวงานเขียนจึงปรารถนาการอ่าน
และการตีความที่หลากหลายจากตัวผู้อ่านอยู่ตลอดเวลาเพื่อคงความเป็นอัตตะที่(ไม่)
สมบูรณ์ไว้ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในส่วนแรกจึงถูกแทนที่ด้วยความสัมพันธ์ใหม่ที่
ความหมายไม่ได้อยู่ที่ตัวผู้อ่านหรือตัวชิ้นงานแต่อยู่ในกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
วรรณกรรมและผู้อ่าน

     

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ