Cinéma et médiatisation interculturelle en classe inversée et en EAD
Main Article Content
บทคัดย่อ
Cinema is a rich in visual and auditory mediums which naturally enables
work on the intercultural analysis of images for improved new classroom practices. It
is also one of the most popular media for younger audiences, especially in Asia. In
Japan, for example, the French cinematographers Alain Delon and Jean Reno have
aroused passion, and French cinema itself has had a positive image with recent
awards film "La Vie en Rose" (Golden Globe, Oscar and Caesar best Actress 2008),
"Entre les murs" (gold Award 2008) and "the Artist" which won awards at the Cannes
Film Festival, the British Film Academy and the Oscars in Hollywood in 2011 and
2012.
This research proposes to use mediation and interculturality to generate
linguistic practices in the classroom and also to develop a module for a distance
learning platform in order to for understand narrative structures through the scene
and the communicative structures by utilizing dialogues and characters while also
offering references to the literature, history and geography or the arts.
This analysis classifies information collected from film (documents, scripts,
iconic, visual); semantic analysis (linguistic and metalinguistic information provided by
these resources); and finally a hierarchical analysis (using open-source information
and choice extracts images, sounds or hyperlinks), we can construct activities that
suit the latest technology and collaborative pedagogies, including the concept of a
"Reverse class" or Flipped Classroom.
ภาพยนตร์เป็นสื่อที่อุดมไปด้วยองค์ประกอบทางกายภาพและสียงเป็นอย่างยิ่ง
จึงเหมาะสมแก่การนำมาใช้ในชั้นเรียนที่เน้นความหลากหลายเพื่อให้พอผู้เรียนได้ศึกษา
การวิเคราะห์ภาพและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนวัยเยาว์
ชื่นชอบมากประเภทหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ในประเทศญี่ปุ่น ภาพยนตร์ที่นำแสดงโดย
อแลง เดอลง และฌอง เรโนได้รับความนิยมอย่างสูงเสมอมา ภาพยนตร์จากประเทศ
ฝรั่งเศสเองก็มีความโดดเด่นในด้านคุณภาพดังจะเห็นได้จากการที่ภาพยนตร์ฝรั่งเศส
หลายเรื่องได้รับรางวัลจากหลาย ๆ สถาบัน ในระยะเวลาไม่กี่ปีมานี้ อาทิ เรื่อง
La Môme, Entre les murs และ The Artist
ผู้เขียนบทความจึงใคร่ขอเสนอให้ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติดังกล่าวของสื่อ
ภาพยนตร์ในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้เรียนในชั้นเรียนภาษา รวมถึงในการสื่อสำหรับการสอน
ระยะไกล โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเข้าใจแบบแผนการเล่าเรื่องผ่านทางบทภาพยนตร์ และ
และแบบแผนการสื่อสารจากบทสนทนาระหว่างตัวละคร ทั้งนี้ ยังอาจเชื่อมโยงถึงความรู้ทางด้าน
วรรณคดี ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และศิลปะแขนงต่างๆ ได้อีกด้วย
เราจึงอาจสร้างสรรค์กิจกรรมที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนที่เน้นความร่วมมือ
จากผู้เรียนและการใช้เทคโนโลยี รวมถึงวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped
Classroom) เริ่มจากการที่ผู้สอนจัดระบบข้อมูลจากภาพยนตร์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็น
เอกสาร ประกอบ และโสตทัศนูปกรณ์ นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ในเชิงความหมาย
(ข้อมูลที่เป็นภาษาและไม่ใช่ภาษาจากสื่อภาพยนตร์) และในเชิงการใช้งาน (ข้อมูลที่มีเนื้อหา
ที่นำใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างอิสระ ข้อมูลจำพวกภาพ
หรือเสียงหรือ hyperlink ที่ผู้สอนเลือกนำมาประกอบการสอน) แล้วนำผลวิเคราะห์ที่ได้มาเป็น
พื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป