คำประกาศชูมาน: การเริ่มต้นที่เหลือเชื่อของบูรณาการยุโรป

Main Article Content

จุฬาพร เอื้อรักสกุล

บทคัดย่อ

 

      คำประกาศชูมาน ค.ศ.1950 ก่อให้เกิดการตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า
 แห่งยุโรป (European Coal and Steel Community: ECSC) ในค.ศ.1951                                                                ความร่วมมือ เฉพาะด้านนี้ในที่สุดได้นำไปสู่การก่อตั้งประชาคม  ยุโรป (European Communities)                                              ใน ค.ศ.1957  บทความนี้ศึกษาและวิเคราะห์การก่อตั้งและผลกระทบของ ECSC ที่ผลักดัน
 ให้บูรณาการยุโรปเดินหน้าและยั่งยืนต่อมา
      ECSC เกิดขึ้นจากการริเริ่มของฝรั่งเศสที่ต้องปรองดองและอยู่ร่วมกับประเทศ
 เยอรมันใหม่ ทั้งเพราะเหตุผลด้านเศรษฐกิจกับความมั่นคงของฝรั่งเศสและความกดดัน
 จากสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ECSC กลับส่งผลกระทบเหนือความคาดหมาย ECSC
 แก้ปัญหาถ่านหินและเหล็กซึงเป็นเหตุพิพาทสำคัญระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมันมา
 ยาวนาน ดังนั้น จึงเป็นการเริมต้นของกระบวนการปรองดองระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมัน
 ยิ่งกว่านั้นประเทศสมาชิกเห็นผลดีของการสร้างความร่วมมือในรูปแบบใหม่ จึงผลักดัน
 แนวทางบูรณาการให้ก้าวหน้าต่อไป การศึกษานี้ยังได้เสนอรายละเอียดที่มาของ
 การสร้างความร่วมมือตั้งแต่ความขัดแย้งในประวัติศาสตร์ระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมัน
 และบทบาทของฝ่ายต่าง ๆ ในการผลักดันข้อตกลง

      The 1950 Schuman Declaration established the European Coal and
 Steel Community (ECSC) in 1951. This sectoral integration eventually led to the                                        formation of the European Communities in  1957. The article studies the ECSC                                              in terms  of its formation and analyzes its impact towards the next sustainable                                              step of European integration.
      The ECSC originated with France’s desire to reconcile with the newly
 established German state because of economics and security factors in addition
 to pressure from the US. However, the ECSC’s impacts went far beyond
 expectations. It solved the problem over steel and coal which had long been a
 source of conflict and war between France and Germany. In so doing it initiated
 the process of France-German reconciliation. Moreover, member states were
 convinced of the benefit of this new model of cooperation, thereby taking a
 huge leap forward in terms of integration. The article also analyses the
 historical dispute between the French and the German and the role of various
 actors in the cause of achieving the agreement.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย