ทัศนะเรื่องประชาธิปไตยในวรรณกรรมนิราศ พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2567

Main Article Content

สุภาพร พลายเล็ก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะเรื่องประชาธิปไตยที่ปรากฏในวรรณกรรมนิราศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - พ.ศ 2567 โดยผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ วรรณกรรมนิราศ พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2523 พบว่า มีทัศนะที่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยเพราะแสดงว่าประเทศไทยเจริญก้าวหน้า แต่ก็มีทัศนะว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้เกิดความเดือดร้อนต่าง ๆ ในสังคม การปกครองระบอบประชาธิปไตยยังไม่ทำให้คนไทยมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคกัน จึงมีทัศนะสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่วนทัศนะที่มีต่อหลักสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคนั้นพบว่าประชาชนยังไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เด็กและผู้หญิงยังถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ ประชาชนยังไม่มีความเสมอภาคกัน และวรรณกรรมนิราศ พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2567 พบทัศนะว่า การปกครองประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดี แต่ยังมิใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น มีเสรีภาพทางเพศ หากแต่วัฒนธรรมประเพณีไทยเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ มีฐานะและบทบาทด้อยกว่าผู้ชาย เด็กต้องเคารพผู้อาวุโสกว่า นอกจากนี้ยังพบทัศนะว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาสำคัญที่ขัดขวางมิให้ประเทศไทยมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคอย่างแท้จริง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประชาสัมพันธ์. (13 ตุลาคม 2566). 14 ตุลาคม “วันประชาธิปไตย”. https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/223548

กรองแก้ว เจริญสุข. (2556). นิราศภูพาน. ชนนิยม.

กวี รังสิวรารักษ์. (2544). นิราศเรือนจำ. ธารบัวแก้ว.

จวบ หงสกุล. (2498). นิราศเกาหลี. ศิลปาบรรณาคาร.

จวบ หงสกุล. (2509). นิราศ. กรุงเทพการพิมพ์.

จวบ หงสกุล. (2511). นิราศยุโรป. กรุงเทพการพิมพ์.

เจติยา. (2560). นิราศเหมันต์. สำนักพิมพ์เจติยา.

เชิญอักษร. (2536). นิราศกระป๋อหลอ. หมึกจีน.

ธมฺมสาโร ภิกฺขุ. (2526). นิราศและบทกวีของศรีตราด. มหามงกุฎราชวิทยาลัย.

นาถลดา. (2557). นิราศรักกรุงกวี. มายดรีม.

บัญชา เลิศธนู. (2536). นิราศบ้านเชียง. ม.ป.พ.

ประถมาภรณ์ เมนะสูต. (2532). นิราศโตเกียว. เฟิสท์ราปิด.

ปรีดี พนมยงค์. (2563). แนวคิดว่าด้วยประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์. https://pridi.or.th/th/content/2024/07/2034

มาลีร้อยสวาท. (2559). นิราศราคี. กนกลดา.

ยงค์ ยโสธร. (2542). นิราศแม่. ชนนิยม.

ยงค์ ยโสธร. (2561). นิราศยุคใหม่ หรือ บันทึกบนทางจร. วรรณกรรมใบขวาน.

รัฐสภา. (2567). การปกครองระบอบประชาธิปไตย. https://old.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=55699&filename=dyouth

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2538). วรรณกรรมปัจจุบัน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วีรพงษ์ อินผักแว่น. (2564). นิราศตามติดชีวิตกล้ามโต. อาร์มกล้ามโต.

สกล สิงหะ. (2554). นิราศซิดนีย์ ท่องไปในโลกการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. ศยาม.

สโมสรสุนทรภู่. (2509). นิราศ 25 เรื่องและวรรณคดีวิจักษณ์. ไทยวัฒนาพานิช.

สส. ยกมือผ่านร่างแก้กฎหมายแพ่งห้ามตีเด็ก พ่อแม่ลงโทษสั่งสอนได้แต่ห้ามใช้วิธีรุนแรง ส่งไม้ต่อให้ สว.พิจารณาอีกสามวาระ. (3 พฤศจิกายน 2567). iLaw. https://www.ilaw.or.th/articles/47690

สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร. (2539). ประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จนถึงปัจจุบัน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิริวยาส. (2546). นิราศลพบุรี. ดอกโมกข์.

สุขุม นวลสกุล. (2542). หลักประชาธิปไตย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุภาพร พลายเล็ก. (2541). นิราศสมัยรัตนโกสินทร์ : การสืบทอดขนบวรรณศิลป์จากพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2546). นิราศเมืองไทย ภาคกลาง. คุรุสภา.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th

อนุชิต ไกรวิจิตร. (19 กันยายน 2562). ประวัติศาสตร์การเมืองไทยกับรัฐประหารที่ลงมือสำเร็จ 13 ครั้ง. THE STANDARD. https://thestandard.co/thai-coup-detat-timeline/

อังคาร กัลยาณพงศ์. (2521). บางกอกแก้วกำศรวลหรือนิราศนครศรีธรรมราช. ศยาม.

อาจิณ จันทรัมพร. (2533). นิราศยู.เอส.เอ. ดอกมะลิ.

อาจิณ จันทรัมพร. (2553). ชุมนุมนิราศ. วสี ครีเอชั่น.

อาร์มกล้ามโต. (2565). นิราศตามติดชีวิตกล้ามโต. อาร์มกล้ามโต.

Chiffon_cake. (2560). นิราศโชซอน. สำนักพิมพ์ every.

isranews. (28 กรกฎาคม 2561). ‘ไพลิน รุ้งรัตน์’ : 11 ยุค นวนิยายไทยร่วมสมัยหลัง พ.ศ. 2475. สำนักข่าวอิศรา. https://www.isranews.org/content-page/item/68160-novel-68160.html