ปัญหาของท่านคือนโยบายของเรา : มูลบทในนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปภาษาที่สื่อมูลบทและหน้าที่ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ของมูลบทในนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 โดยเก็บข้อมูลจากนโยบายหาเสียงที่เผยแพร่ในเฟซบุ๊กแฟนเพจของพรรคการเมือง 5 พรรค ได้แก่ พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 603 ข้อความ ผลการวิจัยพบว่า พรรคการเมืองใช้รูปภาษาที่สื่อมูลบท 4 ชนิด ได้แก่ 1) รูปภาษาที่ใช้อ้างถึง สื่อมูลบทให้เห็นว่ามีสภาพที่ดำรงอยู่หรือสภาพที่ยังไม่เกิดขึ้นซึ่งเป็นปัญหากับประชาชน รวมถึงนโยบายที่เคยเกิดขึ้นแล้ว 2) คำกริยากลุ่มบ่งการเปลี่ยนสภาพ สื่อมูลบทให้เห็นว่า สภาพต่าง ๆ จะต้องทำให้เปลี่ยนไปเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชน 3) คำกริยากลุ่มแนะความ สื่อมูลบทว่าคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสภาพต่าง ๆ เป็นอย่างไร และ 4) รูปภาษาบ่งการเกิดซ้ำ สื่อมูลบทให้เห็นว่าเคยเกิดหรือเคยมีสิ่งต่าง ๆ แต่ปัจจุบันไม่มีอยู่แล้ว รูปภาษาที่สื่อมูลบทมีหน้าที่ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ คือ แนะความให้เห็นถึงปัญหาที่ดำรงอยู่ รวมถึงแนะความว่าผู้ที่จะเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือพรรคการเมืองต่าง ๆ ผลการศึกษาที่พบยังแสดงให้เห็นว่ามูลบทมีบทบาทครอบงำความคิด ตลอดจนชักจูงโน้มน้าวให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งคล้อยตามและลงคะแนนเสียงซึ่งจะสร้างความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจของพรรคการเมืองต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และ ธีรนุช โชคสุวณิช. (2551). วัจนปฏิบัติศาสตร์. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร. (2546). ภาษาเพื่อการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โครงการแลนด์บริดจ์ (Land Bridge). (ม.ป.ป.). ThaiPBS. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567, จาก https://policywatch.thaipbs.or.th/policy/economy-1
จันทมร สีหาบุญลี, วิมลรักษ์ ศานติธรรม, และ อัญชลี จวงจันทร์. (2565). บทสรุปเชิงนโยบายสมรสเท่าเทียม. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
จิรัชยา เจียวก๊ก และ อาทิตยา สมโลก. (2564). ป้ายหาเสียง : วัจนกรรมของผู้สมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดปัตตานี. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 16(2), 86-96.
ชญาวดี ชัยอนันต์. (20 พฤษภาคม 2566). หนี้นอกระบบ อยากกู้ ต้องรู้ทันหนี้. ประชาชาติธุรกิจ. https://www.prachachat.net/finance/news-1296342
ซูเปอร์โพล. (2566). นายกรัฐมนตรีที่ใช่ พรรคการเมืองที่ชอบ. https://storage.googleapis.com/wzukusers/user-17406417/documents/7841c564d75547ac9f67977a7cf6b809/Super%20Poll%20นายกรัฐมนตรีที่ใช่%20พรรคการเมืองที่ชอบ.pdf
ฐิติภา คูประเสริฐ. (2563). กลวิธีการใช้ภาษาสื่อมูลบทในการสะท้อนความเป็นไปของสังคมไทยจากข้อความในป้ายหาเสียงเลือกตั้ง. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(1), 457-472.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2555). เอกสารคำสอนรายวิชา 2201 783 การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์ : แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถอดสัญญาณเลือกตั้งปี 66 ในโลกโชเชียลมีเดีย. (25 เมษายน 2566). ไทยรัฐออนไลน์.https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2685406
นววรรณ พันธุเมธา. (2549). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภาดา โพธิ์เรือง. (2566). อุปลักษณ์ในวาทกรรมการเมืองไทยในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 : การวิเคราะห์อุปลักษณ์เชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
บุญโชค เขียวมา. (2547). การศึกษาวัจนกรรมบนป้ายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี 2547 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง วันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อและสถานที่ที่พรรคการเมืองจะส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ. (22 มีนาคม 2566ข). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 140 ตอนที่ 23ก. หน้า 1.
พรรคก้าวไกล [Move Forward Party]. (ม.ป.ป.). พรรคก้าวไกล - Move Forward Party. Facebook. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567, จาก https://www.facebook.com/MoveForwardPartyThailand
พรรคพลังประชารัฐ [PPRPThailand]. (ม.ป.ป.). พรรคพลังประชารัฐ. Facebook. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567, จาก https://www.facebook.com/PPRPThailand
พรรคเพื่อไทย [pheuthaiparty]. (ม.ป.ป.). พรรคเพื่อไทย. Facebook. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567, จาก https://www.facebook.com/pheuthaiparty
พรรคภูมิใจไทย [bhumjaithaiparty]. (ม.ป.ป.). พรรคภูมิใจไทย. Facebook. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567, จาก https://www.facebook.com/bhumjaithaiparty
พรรครวมไทยสร้างชาติ [unitedthaination]. (ม.ป.ป.). พรรครวมไทยสร้างชาติ United Thai Nation Party. Facebook. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567, จาก https://www.facebook.com/unitedthaination
พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566. (26 มีนาคม 2566ก). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 140 ตอนที่ 22ก. หน้า 1-2.
ภาณุพงษ์ อินต๊ะวงค์ และ อนุสรา ศิริมงคล. (2562). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แห่งสงครามของการเลือกตั้ง 62 ในข่าวออนไลน์. พิฆเนศวร์สาร, 15(2), 33-44.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. ราชบัณฑิตยสถาน.
รู้จัก “สุราก้าวหน้า” คืออะไร สำคัญแค่ไหน ใครได้ประโยชน์บ้าง. (2565). ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2541371
วิทยา นภาศิริกุลกิจ และ สุรพล ราชภัณฑารักษ์. (2539). พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุภาพ กริ่งรัมย์ และ ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2555). กลวิธีการโน้มน้าวใจในการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2554 ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 31(1), 20-43.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). ผลการเลือกตั้ง สส. ทั่วไป 14 พฤษภาคม 2566. https://ectreport66.ect.go.th/overview
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอกนิกส์. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. https://www.etda.or.th/th/Our-Service/statistics-and-information/IUB2022.aspx
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป). ราชบัณฑิตยสภา.
อมรินทร์ทีวีออนไลน์. (17 พฤษภาคม 2566). กรณีศึกษาความสำเร็จในการใช้โซเชียลมีเดียของพรรคการเมือง. Amarin TV. https://www.amarintv.com/spotlight/economy/detail/45890
Argina, A. W. (2018). Presupposition and Campaign Rhetoric: A Comparative Analysis of Trump and Hillary’s First Campaign Speech. International Journal of English and Literature, 8(3), 1-14.
Levinson, S. C. (1983). Pragmatics. Cambridge University Press.
Merriam-Webster. (n.d.). Declare war. In Merriam-Webster.com dictionary. Retrieved June 18, 2024, from https://www.merriam-webster.com/dictionary/declare%20war