ศาสตร์และศิลป์ของกลยุทธ์ในการใช้สื่อเพื่อจัดการภาวะวิกฤตทางสังคมไทย

Main Article Content

ศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์
ชลวิทย์ เจียรจิตต์
พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสื่อในการแก้ปัญหาวิกฤตทางสังคม รวมทั้งวิเคราะห์เหตุผล และวิธีการที่ประชาชน ภาครัฐ หรือองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลือกใช้สื่อในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤตทางสังคม และสร้างแนวทางและรูปแบบของกลยุทธ์ในการทำงานร่วมกัน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มุ่งศึกษาวิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 คน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 20 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านประสิทธิภาพของสื่อในการแก้ปัญหาวิกฤตทางสังคม สื่อเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการภาวะวิกฤตทางสังคม โดยสื่อมีประสิทธิภาพในหลายบทบาท ได้แก่ เป็นกระบอกเสียงเพื่อให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วน ช่วยตรวจสอบและเป็นตัวเร่ง ให้ภาครัฐแก้ปัญหารวดเร็วขึ้น พร้อมสะท้อนปัญหาภาครัฐ ภาคเอกชน 2) ด้านการวิเคราะห์เหตุผล และวิธีการที่ประชาชน ภาครัฐ หรือองค์กรที่เลือกใช้สื่อในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤตทางสังคม โดยประชาชนคาดหวังให้สื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นความจริง ถูกต้อง และรวดเร็ว ส่วนสื่อมีบทบาทหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลจากภาครัฐ 3) แนวทางในการจัดการภาวะวิกฤตทางสังคมให้ประสบความสำเร็จ รัฐควรสร้างกลยุทธ์ในการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันกับสื่อในรูปแบบของเครือข่าย โดยมีเป้าหมายสำคัญร่วมกัน คือประโยชน์ของประชาชน ตามรูปแบบ FINGER Model ของผู้นำในภาวะวิกฤต เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สื่อของประชากรแต่ละกลุ่ม ต้องรู้วิธีการเลือกใช้สื่อ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอในแต่ละช่องทางให้เหมาะสม พร้อมทั้งรัฐควรมีการเตรียมโครงสร้างให้มีศักยภาพในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566. (31 มกราคม 2567). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 141 ตอนพิเศษ 30 ง, หน้า 64.

กฤษดา เกิดดี. (2563). การปิดกั้นการสื่อสาร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

จาเร็ด ไดมอนด์. (2563). ปืน เชื้อโรค เหล็กกล้า Gun, Germs, And Steel (อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ, ผู้แปล). ยิปซี.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2566). การจัดการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น

กฤษณา ไพฑูรย์. (2563). เจาะเบื้องหลังความตาย-ความหายนะบทเรียนรัฐบาลซุก “ไข้หวัดนก”. ใน ปาจารีย์ ปุรินทวรกุล (บรรณาธิการ), คู่มือการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤต (น. 106-112). เปเปอร์เฮ้าส์.

เสริมศิริ นิลดำ. (2563). คุณค่าของสื่อในสถานการณ์วิกฤตถ้ำหลวง. ใน ปาจารีย์ ปุรินทวรกุล (บรรณาธิการ), คู่มือการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤต (น. 69-76). เปเปอร์เฮ้าส์.

ฟิลิป โคเทอร์. (2564). การตลาด 5.0 : เทคโนโลยีเพื่อมวลมนุษยชาติ (Marketing 5.0 : Technology for Humanity) (ณงลักษณ์ จารุวัฒน์, ผู้แปล). เนชั่นบุ๊คส์.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2561). วารสารศาสตร์เบื้องต้น : ปรัชญาและแนวคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิชัย โชควิวัฒน. (2564). โควิด-19 มหันตภัยเขย่าโลก. เสมสิกขาลัย.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2549). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตและการบริหารภาวะวิกฤต. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ฮาซันพริ้นติ้ง.

เฮอร์มิเนีย อิบาร์รา และ มอร์เตน ที ฮานเซน. (2561). กลยุทธ์การบริหารความร่วมมือ :หนังสือชุดคัมภีร์สำหรับผู้บริหาร (ณัฐยา สินตระการผล, ผู้แปล). Harvard Business Review Press.

Coombs, W. T. (2015). Ongoing crisis communication: Planning, managing and responding (4th ed.). Sage Publications.

David, F. R. (2005). Strategic management: Concepts and cases. Prentice-Hall.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 1-55.

Pearson, C. M., & Clair, J. A. (1998). Reframing crisis management. Academy of Management Review, 23(1), 59-76.

Slaikeu, K. A. (1990). Crisis intervention: A handbook for practice and research (2nd ed.). University of Texas.