สารัตถะในนวนิยายเรื่อง “บ้าก็บ้าวะ”

Main Article Content

Truong Thi Hang

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารัตถะในนวนิยายเรื่อง “บ้าก็บ้าวะ” ของเคน เคซีย์ โดยอาศัยแนวทางการพิจารณาแนวคิดในวรรณกรรมของปริญญา เกื้อหนุน กลวิธีในการประเมินค่าแนวคิดของกุหลาบ มัลลิกะมาส และแนวคิดว่าด้วยลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคมของตรีศิลป์ บุญขจร เป็นกรอบการวิเคราะห์ ผลการศึกษาทำให้ทราบสารัตถะสามเรื่อง ได้แก่ เสรีภาพ การพึ่งพาตนเอง และความรัก สารัตถะเรื่องเสรีภาพแสดงออกผ่านการตั้งชื่อเรื่อง การตีความข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ พฤติกรรมของตัวละครสำคัญอย่างแมคเมอร์ฟีและบรอมเด็น ตลอดจนการกำหนดฉากและเหตุการณ์ ส่วนการพึ่งพาตนเองประจักษ์จากลักษณะการสร้างตัวละครบรอมเด็นและเหตุการณ์ ได้แก่ การโหวตดูรายการโทรทัศน์ช่วงบ่ายวันศุกร์ การออกไปตกปลาที่ริมฝั่งทะเล และการหนีออกจากโรงพยาบาลโรคจิต ขณะที่เรื่องความรักเน้นประเด็นความรักระหว่างเพื่อนฝูง สะท้อนผ่านพฤติกรรมของตัวละครแมคเมอร์ฟีเป็นหลักและเหตุการณ์ที่แสดงความหวังดีระหว่างผู้ป่วยและความรักที่แมคเมอร์ฟีมีต่อเพื่อน ได้แก่ บรอมเด็น ฮาร์ดิง และบิลลี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา วิชญาปกรณ์. (2534). หลักเบื้องต้นในการศึกษาเรื่องสั้นและนวนิยาย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กอบกุล อิงคุทานนท์. (2555). โค-อีท-เซนโก : นักรบแห่งกงล้อดวงตะวัน. เรือนแก้ว.

กุสุมา รักษมณี, เสาวณิต จุลวงศ์, และ สายวรุณ น้อยนิมิตร. (2550). ศักดิ์ศรีและความอับอายในวรรณกรรมไทย. แม่คำผาง.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2562). วรรณคดีวิจารณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 20). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เคน เคซีย์. (2561). บ้าก็บ้าวะ (กิติกร มีทรัพย์, ผู้แปล, พิมพ์ครั้งที่ 3). สมิต.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2514). เมืองมายา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ก้าวหน้า.

จอห์น จี. ไนฮารดต์. (2555). แบล็คเอลค์พูด (พจนา จันทร์สันติ, ผู้แปล). สามัญชน.

เดวิด แกรนน์. (2566). คดีฆาตกรรมเมื่อดอกไม้ร่วงโรยในคืนจันทร์เต็มดวง (นรา สุภัคโรจน์, ผู้แปล). เวิร์ดส์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2017).

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2542). นวนิยายกับสังคมไทย 2475-2500 (พิมพ์ครั้งที่ 2). โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (2564). วรรณคดีกับสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนรัชฎ์ ศิริสวัสดิ์. (2532). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นวลจันทร์ ชาญวิวัฒนา. (2550). การศึกษาเนื้อหาและแนวคิดของวรรณกรรมเยาวชนประเภทบันเทิงคดีในปี พ.ศ. 2547 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บัวงาม ห่อแก้ว. (2541). การวิเคราะห์นิทานคติธรรมเรื่องดาวเรือง. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ปริญญา เกื้อหนุน. (2537). เรื่องสั้นอังกฤษและอเมริกัน. โอเดียนสโตร์.

พิมลรัตน์ บังศรี. (2552). วิเคราะห์นวนิยายของกิ่งฉัตร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เฟรดเดอริค โอ. เกียริง. (2531). ชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน : กรณีชุมชนอินเดียนแดงในอเมริกา (อานันท์ กาญจนพันธ์, ผู้แปล). มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 1971).

ยศ สันตสมบัติ. (2550). แดนคนดุ. ใน ยศ สันตสมบัติ (บรรณาธิการ), เมียซามูไร (น. 139-180). โอซีที.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์. (2558). ณ ที่ดวงตะวันฉายแสง ข้าจะไม่สู้รบอีกต่อไป (พิมพ์ครั้งที่ 5). ยิปซี.

สุพรรณี โกศัลวัฒน์. (2530). วรรณกรรม : หลักและวิธีการ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุดม หนูทอง. (2523). พื้นฐานการศึกษาวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Truong Thi Hang. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบนิทานซินเดอเรลลาฟอร์มูลาอาเซียน. ลานนาการพิมพ์.

Al-Rubaye, D. (2024). Through Chief Bromden's murky lens: Deconstructing sanity in One flew over the cuckoo's nest. International Journal of Science and Research (IJSR), 13(1), 445-447.

Foley, A. (2001). Allegories of freedom: Individual liberty and social conformity in Ken Kesey’s One flew over the cuckoo’s nest. JLS/TLW, 17(1/2), 1-29.

Johnson, E. (2024, March 9). Only 3 movies have swept the Oscars by winning the five biggest awards. Screen Rant. https://screenrant.com/oscars-movies-sweep-win-big-five-awards/

Joy, I. (2019). Madness in the society: Analysis of ‘One flew over cuckoo’s nest’. Smart Moves Journal IJELLH, 7(11), 23.

Kesey, K. (2016). One flew over the cuckoo’s nest. Penguin Random House.

Leach, C., & Murray, S. (2008). Disability and gender in Ken Kesey’s One flew over the cuckoo's nest. Disability Studies Quarterly (DSQ), 28(4). https://dsq-sds.org/index.php/dsq/article/view/149/149

Novianti, D. (2016). Becoming normal: An analysis of normalcy in Ken Kesey’s One flew over the cuckoo’s nest. Passage, 4(2), 1-18.

Punnopatham, J. (2007). Madness as symptomatic of American society in twentieth century American novels: A study of William Faulkner's The sound and the fury, Joseph Heller’s Catch-22 and Ken Kesey’s One flew over the cuckoo’s nest [Master’s thesis]. Chulalongkorn University.

Yang, J. (2021). On rebellion against spatial limitation in One flew over the cuckoo’s nest. International Journal of Social Science and Humanities Research, 9(2), 223-229.