ภาพตัวแทนผู้สูงอายุที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเด็นเกี่ยวกับผู้สูงอายุได้รับความสนใจจากนักวิชาการหลายสาขาเนื่องจากสังคมไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์ภาพตัวแทนผู้สูงอายุที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2551 จำนวน 4 หลักสูตร โดยใช้กรอบแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของแฟร์คลัฟ (Fairclough, 1995) ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมหนังสือเรียนขับเน้นภาพผู้สูงอายุว่าเป็นผู้ที่ต้องได้รับการดูแลจากเด็ก อีกทั้งมักนำเสนอว่าเป็นผู้มีร่างกายทรุดโทรมซึ่งตอกย้ำภาพของผู้ต้องได้รับการช่วยเหลือ ขณะเดียวกันก็นำเสนอภาพผู้สูงอายุว่าเป็นผู้เลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนหลานเฉพาะด้านศีลธรรมและภูมิปัญญาซึ่งเป็นความรู้เฉพาะด้าน การเน้นนำเสนอภาพดังกล่าวมากเป็นพิเศษเป็นการมองภาพแบบเหมารวม ทำให้ความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุถูกจำกัดอยู่ในบางมิติ ทั้งนี้มิได้นำเสนอภาพที่สอดคล้องกับสังคมผู้สูงอายุอย่างรอบด้าน ผลการศึกษานี้ช่วยสร้างการตระหนักรู้ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติเชิงลบที่มีต่อผู้สูงอายุ และอาจใช้เป็นแนวทางในการสร้างหนังสือเรียนที่ลดอคติแห่งวัย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง. (2567). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์.
กำจร หลุยยะพงศ์. (2553). การสื่อสารกับวาทกรรมอัตลักษณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
จิรศักดิ์ สุขวัฒนา. (2545). การสถาปนาความเป็นผู้สูงอายุในสังคมสมัยใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธันยา รุจิเสถียรทรัพย์. (2552). การต่อรองอัตลักษณ์แห่งตัวตนของคนชรา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธีระ บุษบกแก้ว. (2562). ภาพตัวแทนผู้สูงอายุไทยที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมสื่อสาธารณะ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
นววรรณ พันธุเมธา. (2559). คลังคำ (พิมพ์ครั้งที่ 7). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
บรรลุ ศิริพานิช. (2542). ผู้สูงอายุไทย : ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรของสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย.
ปิยากร หวังมหาพร. (2554). ผู้สูงอายุไทย : พัฒนาการเชิงนโยบายภาครัฐจากอดีตสู่ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พรพรรณ สมบูรณ์บัติ. (2549). หญิงชรา : ภาพตัวแทนในรายการสารคดีโทรทัศน์ “คนค้นฅน” [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.
ภุชงค์ เสนานุช, ไพรินทร์ ขัดธพงษ์, ทรงศักดิ์ รักพ่วง, และ วุฒิชัย สายบุญจวง. (2566). โครงการติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545-2565) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2563 ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2560 - 2565). ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และนโยบายสังคมแห่ง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2503-2544 : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (เล่ม1) แนวคิดเชิงทฤษฎีวัยเด็กตอนกลาง (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สร้อยสน สกลรักษ์, วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ คงเผ่า, ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร, ดวงใจ บุญยะภาส, อารียา หุตินทะ, สุวิตรา เลิศวรรณวิทย์, และ เด่นดาว ชลวิทย์. (2560). การศึกษารูปแบบ วิธีสอน และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการสอนอ่าน-เขียนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 9. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 30(3), 303-327.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2567). นิยามศัพท์ กลุ่มคนเปราะบาง. http://nscr.nesdc.go.th/pelcd-glossary
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2544). หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 3). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา สุภาพ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมไทย : ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี (พิมพ์ครั้งที่ 11). ไทยวัฒนาพานิช.
สุวรรณา ลึม. (2560). แนวทางส่งเสริมกตัญญูกตเวทีในสังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. E-Thesis Central Library Mahachulalongkornrajavidaylaya University.
หทัยรัตน์ ชัยยุทธภูมิ. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างปู่ย่าตายายและหลานตามการรับรู้ของปู่ย่าตายายในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
หัทยา ดำรงผล. (2560). ทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 62(3), 271-276.
Baker, P., & Ellece, S. (2011). Key terms in discourse analysis. Continuum.
Fairclough, N. (1995). Media discourse. Edward Arnold.
Fairclough, N. (2003). Analysing discourse: Textual analysis for social research. Routledge.
Hall, S., Evans, J., & Nixon, S. (2013). Representation (2nd ed.). Sage.
Halliday, M.A.K. (2014). Halliday’s introduction to functional grammar (4th ed.). Routledge.
Huang, C. S. (2011). Aging education in elementary school textbooks in Taiwan. Educational Gerontology, 37(3), 235–247.
Kaya, G., Candan, S., Avşar-Tuncay, A., Hakverdi-Can, M., Can, D., & Pekbay, C. (2014). Aging education in elementary textbooks. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 116, 3030-3037.
Klein, D. A., Council, K. J., & McGuire, S. L. (2005). Education to promote positive attitudes about aging. Educational Gerontology, 31(8), 591-601.
Kuo, S. H., & Huang, C. S. (2024). An intergenerational experiment of age-friendly children’s picture books in elementary school. Journal of Intergenerational Relationships, 22(4), 1-18.
Li, J. (2019). Aging education in elementary school textbooks in mainland China. Educational Gerontology, 45(7), 433-443.
McGuire, S. L. (2021). Counteracting ageism: Promoting accurate concepts about aging in young children. In M. R. Jalongo & P. A. Crawford (Eds.), Intergenerational bonds: Educating the young child (Vol. 18, pp. 19-39). Springer.
van Dijk, T. A. (1989). Structures of discourse and structures of power. In J. Anderson (Ed.), Communication Yearbook (Vol. 12, pp. 18-59). Sage.
van Leeuwen, T. (2008). Discourse and practice: New tools for critical discourse analysis. Oxford University Press.