การเรียนรู้เชิงบูรณาการทางสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะนักคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดพลังอำนาจอ่อนทางวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการทางสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะนักคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดอำนาจอ่อนทางวัฒนธรรมและ 2) พัฒนาและประเมินชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการทางสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะนักคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดอำนาจอ่อนทางวัฒนธรรม ใช้วิธีการออกแบบวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 1) เอกสารที่เกี่ยวข้อง และ 2) ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ใช้เครื่องมือวิจัยคือ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร และ 2) แบบประเมินความเหมาะสม ผลการวิจัยพบประเด็นการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนักคิดสร้างสรรค์จำนวน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) วิธีการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นปักหมุดหมายการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นทัศนศึกษา ขั้นตอนที่ 3 ขั้นเชื่อมโยงความรู้ ขั้นตอนที่ 4 ขั้นเลือกพื้นที่นักสร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 5 ขั้นสรุปความคิดรวบยอด 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) แนวคิดและจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ 2) รูปแบบการเรียนรู้ 3) กิจกรรม “Arts for the road” 4) กิจกรรม Makerspace บนพื้นที่ประวัติศาสตร์ “นครหริกุญชัย” 5) กิจกรรม “Inspire by เจดีย์” 6) กิจกรรม “พัดสาน ประสานศิลป์” 7) กิจกรรม “ประติมากรรมพระ ณ หริภุญชัย” และผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.82, SD = 0.33)
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” ผลักดัน “Soft Power” การศึกษา เรียนอย่างสร้างสรรค์ ขยายผลสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน. ศธ360. https://moe360.blog/2023/12/19/moe-soft-power/
เกียรติศักดิ์ วงษ์เลี้ยง. (2565). การพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์เพื่อการรู้เท่าทันสังคมผ่านชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. NU Digital Repository.
คัทลียา วิเลปะนะ. (2565). แนวทางการพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (Makerspace) เพื่อพัฒนาทักษะนวัตกรรมของผู้เรียน. โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27984
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2565). ปัญญาการสอนสังคมศึกษา. ลานนาการพิมพ์.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศึกษาศาสตร์.
ทัศนา พุทธประสาท. (2565). เรียนแบบเดิม ๆ สอนแค่ให้ท่องจำ : จะสอนประวัติศาสตร์อย่างไรให้เด็ก ๆ ไม่เบื่อ?. The MATTER. https://thematter.co/social/histoys-not-boring/168203
ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 25). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิโลบล วิมลสิทธิชัย. (2562). ห้องสมุดโรงเรียนกับพื้นที่สร้างสรรค์ : แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารห้องสมุด, 63(1), 5.
ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2565). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์. ครุศาสตร์สาร, 16(1), 14-31.
วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒ.
วรินทร สิริพงษ์ณภัทร. (2566). การเสริมสร้างคุณลักษณะพลเมืองตื่นรู้ของผู้เรียนโดยการตั้งคำถามแบบโสเครติส. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5(1), Article 8. https://doi.org/10.14456/educu.2023.8
วันดี โตสุขศรี. (ม.ป.ป.). Clinical Teaching: Questioning (การใช้คำถามในการสอน). ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2567, จาก https://ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/med-index.html
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิมลรักษ์ ศานติธรรม. (2565). Soft Power พลังแห่งการสร้างสรรค์. วิจัยปริทัศน์, 27, 1-17.
สรัญญา เนตรธานนท์. (2563). กระบวนการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ด้วยการ จัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 6(3), 20-31.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของผู้สอนยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อิทธิเดช น้อยไม้. (2547). การจัดทัศนศึกษาเพื่อเรียนรู้แบบบูรณาการ. วารสารศึกษาศาสตร์, 16(1), 1-14.
Anderson, C. (2012). Makers: The new industrial revolution. Crown Business.
Campbell University. (2022). Learning through inquiry: Makerspaces, manipulatives, and boardgames. https://guides.lib.campbell.edu/c.php?g=325978&p=2186732#s-lg-box-6653217
Delaney, H. (2019, April 22). Education for the 21st century: Placing skills development at the heart of education. UNICEF Thailand, for every child. https://www.unicef.org/thailand/stories/education-21st-century
Gardner, H. (1994). Creating minds: An anatomy of creativity seen through the lives of Freud, Einstein, Picasso, Stravinsky, Eliot, Graham, and Gandhi (Reprint ed.). Basic Books.
Han, S. Y., Yoo, J., Zo, H., & Andrew, P. C. (2016). Understanding makerspace continuance: A self-determination perspective. Telematics and Informatics, 34(2), 184-195.
Nye, J. S. (2004). Soft power: The means to success in world politics. Public Affairs.
Kim, T., & Shin, D. H. (2016). Social platform innovation of open source hardware in South Korea. Telematics and Informatics, 33(2), 217–226.
Melo, M. (2020). How do makerspaces communicate who belongs? Examining gender inclusion through the analysis of user journey maps in a makerspace. Journal of Learning Spaces, 9(1), 60.
Oxford Learner’s Dictionaries. (n.d.). Field trip. Oxford University Press. Retrieved June 11, 2024, from https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/american_english/field-trip
Sheridan, K. M., Halverson, E. R., Litts, B. K., Brahms, L., Jacobs-Priebe, L., & Owens, T. (2014). Learning in the making: A comparative case study of three makerspaces. Harvard Educational Review, 84(4), 505-531.
XCL World Academy. (n.d.). Is personalised Learning the Future of Education. Retrieved June 11, 2024, from https://www.xwa.edu.sg/blog/teachers/is-personalised-learning-the-future-of-education/
Yimsawat, C., Mangkhang, C., Puwanatwichit, T., & Anansuchatkul, B. (2020). Instructional model to strengthen comprehensive humanization for higher education students [Doctoral dissertation, Chiang Mai University]. CMUIR. http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/71077