“ภัยคุกคาม” “ปัญหา” และ “คนอื่น” : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนแรงงานต่างด้าวในวาทกรรมข่าวหนังสือพิมพ์ไทยตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนแรงงานต่างด้าวในวาทกรรมข่าวหนังสือพิมพ์ไทยตามแนวทางการศึกษาวาทกรรม วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ภาษาเป็นเครื่องมือที่ถูกนำ มาใช้ในการนำเสนอภาพและประกอบสร้างความหมายบางประการให้แก่แรงงานต่างด้าว โดยเกิดจากมุมมองของนักข่าว ซึ่งผ่านการตัดสิน ประเมินค่า ตีความ และเลือกนำเสนอเฉพาะบางแง่มุม ภาพตัวแทนแรงงานต่างด้าวปรากฏอย่างเด่นชัด 5 ภาพ ได้แก่ 1. แรงงานต่างด้าวเป็นกลุ่มคนลักลอบเข้าเมืองและทำอาชีพผิดกฎหมาย 2. แรงงานต่างด้าวเป็นกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมโหดเหี้ยมมักก่อเหตุความรุนแรงและคดีอาชญากรรม 3. แรงงานต่างด้าวเป็นปัญหาความมั่นคงที่ภาครัฐต้องบริหารจัดการ 4. แรงงานต่างด้าวเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยโรคระบาด 5. แรงงานต่างด้าวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ซึ่งมีสถานภาพด้อยกว่าคนไทย โดยกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการนำเสนอภาพตัวแทนเหล่านี้มีหลายกลวิธี กลวิธีที่โดดเด่น คือ การอ้างถึงแรงงานต่างด้าว โดยใช้การประเมินค่าโดยนัยเชิงลบ การใช้ชนิดกระบวนการเกี่ยวกับการกระทำเพื่อสื่อภาพการกระทำที่ “ไม่พึงประสงค์” ของแรงงานต่างด้าว การใช้มูลบทเพื่อแนะความว่าแรงงานต่างด้าวมักมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์และสร้างปัญหาซ้ำ การใช้อุปลักษณ์เพื่อนำเสนอแรงงานต่างด้าวในฐานะ “ภาระ” และ “ความเป็นอื่น” ภาพตัวแทนเหล่านี้น่าจะส่งผลต่อมุมมองหรือความคิดของผู้รับสาร ซึ่งเป็นคนในสังคมไทยให้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวเฉพาะในทางลบ และอาจจะส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อคนกลุ่มนี้ด้วยความหวาดระแวง ไม่เท่าเทียม และขาดความเห็นอกเห็นใจโดยที่ผู้เขียนข่าวหรือหนังสือพิมพ์เองอาจไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบเหล่านี้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกรัตน์ ศศิโรจน์, 2564. แนวทางการบริหารองค์กรสื่อหนังสือพิมพ์เพื่อความอยู่รอดในยุคดิจิทัล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กมเลศ โพธิกนิษฐ์, พัชรินทร์ สิรสุนทร, และ วัชรพล พุทธรักษา. (2560). แรงงานข้ามชาติ กับ การทำให้เป็น “สัตว์-เศรษฐกิจ” ภายใต้ภาวะการถูกกดทับ: กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์, 13(2), 99-119
กฤตยา อาชวนิจกุล และ พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. (2548). คำถามและข้อท้าทายต่อนโยบายรัฐไทยในมิติสุขภาวะและสิทธิของแรงงานต่างด้าว. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์. (2543). ปริจเฉทเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ [รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คทาธร อัศวจิรติกรณ์. (2553). การประสบผลสำเร็จทางธุรกิจของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐา ศรีบุญรอด. (2545). การบริหารงานกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธีระยุทธ สุริยะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับภาพตัวแทนของชาวโรฮิงญาในสื่อออนไลน์ภาษาไทย: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิทักษ์ ไปเร็ว และ พิทักษ์ สิริวงศ์. (2556). วาทกรรมการสร้างความเป็นอื่นของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยฐานะพลเมืองโลก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 617-636.
มุจลินทร์ สุดเจริญ. (2552). มโนอุปลักษณ์เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย [เอกสารประกอบคำบรรยายสรรพ์วิทยา]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ มนต์ไตรเวศย์. (2556). แรงงานต่างด้าวในภาคประมงกับความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม. วารสารดำรงวิชาการ, 12(2), 281-306.
วิภาดา โนตา. (2552). สภาพการอยู่อาศัยของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร: กรณีศึกษาชุมชนวัดตึก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรวิทย์ มิตรทอง. (2560). การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในโรงพยาบาลสมุทรสาคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษราศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิพิมพ์ ศรบัลลังก์. (2555). การทำให้แรงงานต่างด้าวเป็นปัญหาความมั่นคงของรัฐ : ศึกษากรณีแรงงานพม่าในไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี. (2555). เศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยสวัสดิการสำหรับแรงงานข้ามชาติ: กรณีศึกษาแรงงานพม่าในจังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
สถานทูตสหรัฐฯและสถานกงสุลในประเทศไทย. (2557). รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปีพ.ศ. 2557. https://th.usembassy.gov/th/our-relationship-th/official-reports-th/2014-trafficking-persons-report-thailand-th/
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2559). การพัฒนานโยบายการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ภายใต้ประชาคมอาเซียนเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมไทย. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน).
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2553). ผลกระทบจากการจ้างแรงงานข้ามชาติของไทยภายใต้ยุคพิสูจน์สัญชาติ. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว, (2559). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักรประจำเดือน ตุลาคม 2559. กลุ่มสารสนเทศสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2563). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักรประจำเดือน ตุลาคม 2563. กลุ่มสารสนเทศสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว.
สุภางค์ จันทวานิช, มูลนิธิศุภมิตแห่งประเทศไทย, และ ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2547). โครงการวิจัยเรื่องการย้ายถิ่นเข้ามาทำงานและการถูกหลอกลวงของแรงงานต่างชาติในประเทศไทย. มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย.
หฤทัย จงวัฒนบัณฑิตย์. (2560). การปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานต่างด้าวสมัยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
ออมสิน บุญเลิศ. (2552). วาทกรรมว่าด้วย คนต่างด้าว กับการกลายเป็น คนอื่น ของชาวไทใหญ่พลัดถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์, 21(3), 103-141.
Charteris-Black, J. (2006). Britain as a container immigration metaphor in the 2005 election campaign. Discourse & Society, 17(5), 563-581.
Craviotto, M. D. T. (2009). Racism and xenophobia in immigrants’ discourse: The case study of Argentines in Spain. Discourse & Society, 20(5), 571-592.
Fairclough, N. (1989). Language and power. Longman Press.
Fairclough, N. (1992). Discourse and social change. Polity Press.
Fairclough, N. (1995). Media discourse. Edward Arnold Press.
Fairclough, N. (2003). Analysing discourse: Textual analysis for social research. Longman Press.
Fowler, R. (1991). Language in the news: Discourse and ideology in the British press. Routledge Press.
Idrus M. M., & Ismailb, I. S. (2013). “Petaling street almost Malaysian”–A discourse analysis of news on illegal immigrants. Social and Behavioral Sciences, 90, 374-380.
Kazlowska, A. G. (2009). Clashes of discourse: The representation of immigrants in Poland. Journal of Immigrant & Refugee Studies, 7, 58-81.
Khosravinik, M. (2014). Immigration discourse and critical Discourse analysis: dynamic of world events and immigration representations. In C. Hart & P. Cap (Eds.), Contemporary critical discourse studies chapter: Immigration discourses and critical discourse analysis: Dynamics of world events and immigration representations in the British press (pp. 503-521). Bloomsbury Academic Press.
Lynn, N. & Lea, S. J. (2003). `A phantom menace and the new apartheid': The social construction of asylum-seekers in the United Kingdom. Discourse & Society, 14(4), 425-452.
Machin, D. & Mayr, A. (2012). how to do critical discourse analysis. Sage press.
Teo, P. (2000). Racism in the news: A critical discourse analysis of news reporting in two Australian newspapers. Discourse & Society, 11(1), 7-49.
Mon, M. (2010). Burmese labour migration into Thailand: Governance of migration and labour rights. Journal of the Asia Pacific Economy, 15(1), 33-44.
Mohd Don, Z. & Lee, C. (2014). Representing immigrants as illegals, threats, and victims in Malaysia: Elite voices in the media. Discourse & Society, 25(6), 687-705.
Shoemaker, P. J., & Vos, T. P. (2009). Gatekeeping theory. Routledge Press.
Shoemaker, P. J., & Reese, S. D. (2014). Mediating the Message in the 21st Century: A Media Sociology Perspective. Routledge Press.
van Dijk, T. A. (1984). Prejudice in discourse: An analysis of ethic prejudice in cognition and conversation. John Benjamins.
van Dijk, T. A. (1993). Elite discourse and racism. Sage Press.
van Dijk, T. A. (2012). The role of the press in the reproduction of racism. In M. Messer, R. Schroeder, & R. Wodak (Eds.), Migrations: Interdisciplinary perspectives Vienna: Springer (pp. 15-29). Springer Press.
van Leeuwen, T. (1996). The Representation of social actors. In C. Caldas-Coulthad & M. Coulthard (Eds.), Texts and practice: readings in critical discourse analysis (pp. 32-70). Routledge Press.
van Leeuwen, T. (2008). Discourse and practice: new tools for critical discourse analysis. Oxford University Press.
van Leeuwen. T. (2009). Critical discourse analysis. In J. Renkema (Ed.), Discourse, of Couse: An overview of research in discourse studies (pp. 277-292). John Benjamins Publishing Press.