พุทธวิธีการฟัง เสริมพลังปัญญา

Main Article Content

พรทิพย์ เกศตระกูล
พระมหานันทวิทย์ แก้วบุตรดี

บทคัดย่อ

การสื่อสารเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินชีวิตทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน ทักษะการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น และเข้าใจโลกรอบตัวได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต การฟังเป็นทักษะการสื่อสารที่สำคัญที่สุด ซึ่งช่วยเพิ่มพูนความรู้ เสริมสร้างปัญญาและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ดังคำพุทธพจน์ที่กล่าวว่า “สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ” ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา ตั้งใจศึกษาย่อมเกิดปัญญา (ปัญญาแตกฉาน) ปัญญาเปรียบเสมือนแสงสว่างนำทางที่ช่วยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องและมีความสุขอันเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา การฟังเพื่อให้เกิดปัญญาจึงเป็นทักษะที่ควรพัฒนาอย่างยิ่ง ในพระพุทธศาสนา การฟังนับว่าเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ช่วยเสริมสร้างให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริง การฟังเสียงภายในช่วยให้เข้าใจตนเอง และการฟังเสียงภายนอกช่วยให้เข้าใจผู้อื่น โดยหลักธรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาการฟัง ได้แก่ หลักกัลยาณมิตร หลักกาลามสูตร และโยนิโสมนสิการ บทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นถึงประโยชน์ของพุทธวิธีการฟังและสามารถนำแนวทางการพัฒนาการฟังตามหลักพุทธศาสนา ได้แก่ การฝึกสติ การเจริญสมาธิ การฝึกคิด การฝึกฟังเสียงภายใน และการฝึกฟังเสียงภายนอก ไปฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะการฟังให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มพูนความรู้ สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดี มีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและมีความสุข

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เควิด โบห์ม. (2558). Dialogue: วิธีการสนทนาแบบมนุษย์สัมผัสและการเปลี่ยนวิธีคิดด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง (โสพส ศิริไสย์, เรียบเรียง). สำนักงานทรานส์ทีม. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2005).

ธิดา โมสิกรัตน์ และ ศรีสุดา จริยากุล. (2526). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 1 หน่วยที่ 6-11. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นัฐวุฒิ ศิริวรวัส. (2564). การศึกษาวิเคราะห์การฟังอย่างลึกซึ้งในพระพุทธศาสนาเถรวาท. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรทิพย์ เกศตระกูล. (2565). พุทธจิตวิทยาการเสริมสร้างพลังใจเพื่อการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิตของวัยรุ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2549). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์. เลี่ยงเชียง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). ธรรมนูญชีวิต (ฉบับชาวบ้าน) (พิมพ์ครั้งที่ 1). สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 9). โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546ก). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 39). โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546ข). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 35). สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2547). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 10). ธรรมสาร.

พระธรรมมงคลญาณ (พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธโร). (2556). หลักสูตรครูสมาธิ เล่ม 3 (พิมพ์ครั้งที่ 11). พิฆณี.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). วิธีคิดตามหลักพระพุทธศาสนา. ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2563). พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย) (พิมพ์ครั้งที่ 54). ผลิธัมม์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2552). สยามสามไตร สู่อนาคตที่สดใส ด้วยการศึกษาไทยวิถีพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิมพ์สวย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุพา ส่งศิริ. (2525). สุ.จิ.ปู.ลิ.ภาษาไทย. โรงพิมพ์ตำรวจ.

วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา. (2562). คู่มือแนวปฎิบัติการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการของพระสงฆ์ที่มีบทบาทให้การปรึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชน ปริ้นติ้ง.

วิศิษฐ์ วังวิญญู. (2548). มณฑลแห่งพลัง ญาณทัศนะแห่งการเข้าถึงตัวตนที่แท้. สวนเงินมีมา.

สมชาย วรุณศิริ. (2562). การสื่อสารเชิงพุทธ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). พัฒนาปัญญา เล่าเรื่องให้โยมฟัง ชุดที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 1). ม.ป.พ.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 35). สหธรรมิก จำกัด.

สีฟ้า ณ นคร, ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ และ บรรจบ บรรณรุจิ. (2562). กระบวนการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ 7(2), 1-3.

อภิชญา ฤๅชัย. (2559). การฟังเชิงพุทธ: สันติวิธีเริ่มต้นที่ตัวเราเอง [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อรจิรา วงษาพาน. (2558). พุทธวิธีในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Albom M. (2003). The five people you meet in heaven. Hyperion.

Breuning, J., Smith, S., & Harvey, M. (2018). The relationship between listening skills and emotional intelligence: a meta-analysis. Journal of Business and Psychology, 33(3), 511-523.

Gordon T. (1970). Parent effectiveness training: the proven program for raising responsible children. Bee Media Group.

Guo, Z., Chen, Y., & Wu, W. (2019). The effect of a listening skills training program on emotional intelligence and resilience. Journal of Happiness Studies, 20(2), 435-452.

Keller, J. W. (1979). The effective manager. Harper & Row.

Mackey, W. F. (1985). Effective listening: How to hear and understand. McGraw-Hill Education.

Rogers, C. (1980). Empathic: An unappreciated way of being. Houghton Mifflin Co.

Urbinner. (2566). Inner Self Listening ฟังเสียงโลกภายใน. https://www.urbinner.com/inner-self-listening

Williams, J. A. (2017). YouthThrive™: Promoting Youth Resilience: Trainer’s Guide. The Center for the Study of Social Policy.