วิถีอาหารและการดื่มกินในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ยุคการพิมพ์

Main Article Content

พัชลินจ์ จีนนุ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีอาหารและการดื่มกินในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ยุคการพิมพ์ เป็นการวิจัยเอกสาร เก็บข้อมูลจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ยุคการพิมพ์ประเภทนิทานนิยาย แต่งเป็นร้อยกรอง ตีพิมพ์ในรูปเล่มขนาดเล็ก จำนวน 23 เรื่อง แต่งในช่วง พ.ศ. 2481-2516 นำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า วิถีอาหารและการดื่มกินในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ยุคการพิมพ์เชื่อมโยงกับพื้นที่ต่าง ๆ ทางสังคม แสดงการปะทะกันระหว่างแนวคิดอนุรักษ์นิยมและการเข้ามาของกระแสวัฒนธรรมทุนนิยม โดยเน้นประกอบสร้างความหมายของอาหารในพื้นที่ป่ามากเป็นพิเศษ สื่อสารถึงต้นกำเนิดของแหล่งกำเนิดอาหารและความเป็นดั้งเดิม รวมถึงการสร้างอัตลักษณ์ของชนกลุ่มต่าง ๆ ผู้แต่งยังสร้างสัญญะของผืนป่าในเชิงบวกสะท้อนให้เห็น “คุณค่า” และ “ความสำคัญ” ที่มีต่อผู้คนเชิงนิเวศ มิติอาหารและการดื่มกินยังสัมพันธ์กับความคิดความเชื่อ ได้แก่ ความคิดความเชื่อเรื่องการเกิด ความคิดความเชื่อในพระพุทธศาสนา ความคิดความเชื่อเรื่องพละกำลัง ความคิดความเชื่อเรื่องการอยู่ดีมีสุข ความคิดความเชื่อเรื่องเพศวิถี ความคิดความเชื่อเรื่องฐานะทางสังคม ความคิดความเชื่อเรื่องบุญบารมีของผู้ปกครอง และความคิดความเชื่อเรื่องความเป็นอมตะ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จีนนุ่น พ. (2024). วิถีอาหารและการดื่มกินในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ยุคการพิมพ์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 24(1), 203–234. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274163
บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ จ่างกมล. (2545). อาหาร: การสร้างมาตรฐานในการกินกับอัตลักษณ์ทางชนชั้น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กีรติพร จูตะวิริยะ, คำยิน สานยาวง, และ คำพอน อินทิพอน. (2554). วิถีการบริโภคอาหารกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ เขตนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 7(2), 49-73.

คล้าย ศรีพนัง. (2502). หญิงหน่ายชายรัก. โรงพิมพ์กระจ่างภาษิต.

จ.ศรีอักขรกุล. (2504). หนามรัก. โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ.

ชอบ หัทยานนท์. (2503). เสือเอื้อน. โรงพิมพ์พัฒนาสัมพันธ์.

ชัย จันรอดภัย. (2497). นางกุณฑลเกสี. โรงพิมพ์สมบูรณ์.

ชัยวุฒิ พิยะกูล. (2552). พระอริยสงฆ์ภาคใต้จากหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดถึงพุทธทาสภิกขุ. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

แดง นักปราชญ์. (2495). แก้วผรอด. โรงพิมพ์สมบูรณ์.

แดง นักปราชญ์. (2491). เผรีญทอง. โรงพิมพ์ไทยนำ.

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (ม.ป.ป.). มัมมี่ ยาอายุวัฒนะ และ “จิตอมตะ”. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565, จาก http://www.thaicadet.org/Buddhism/mummy.html

ทอง หนูขาว. (2503). สี่เสือสองสาวสามสัตว์. โรงพิมพ์กระจ่างภาษิต.

ธนภัทร พิริย์โยธินกุล และ น้ำผึ้ง ปัทมะลางคุล. (2562). “วัฒนธรรมอาหาร” : ปรุง “ความเป็นอื่น” ในวรรณคดีไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์. วรรณวิทัศน์, 19(2), 29-56.

ธนภัทร พิริย์โยธินกุล. (2564). “แม้นปะแล้วจะซดให้หมดหม้อ แม่ปลาหมอต้มเค็มพี่เต็มหา”: อาหารกับผู้หญิงในวรรณคดีไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 28(1), 382-406.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (มกราคม 2546). มนุษย์กินคน คนกินเนื้อมนุษย์ (Cannibalism) เรื่องเล่าชาวตะวันตก ถึงมุมมองวิชาการ. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/history/article_6611

บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล. (2555). การเมืองเชิงวัฒนธรรมของรสชาติ: วิถีอาหารของแรงงานไทใหญ่ในเมืองเชียงใหม่. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 31(2), 109-135.

ปรียารัตน์ เชาวลิตประพันธ์. (2549). การสมพาสที่ผิดธรรมชาติในนิทานไทย: การศึกษาอนุภาคทางคติชนวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์.

พร้อม รักษกาญจน์. (2516). ราตรีสวรรค์. โรงพิมพ์สุเมธการพิมพ์.

พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2555). ลักษณะเด่นและบทบาททางสังคมของวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิน พรหมบริรักษ์. (2495). ลอยวาริน สินสุวรรณ. โรงพิมพ์สมบูรณ์.

ภัสราภรณ์ ล้อประกานต์สิทธิ์. (21 กันยายน 2565). ชวนรู้จัก ‘นกชนหิน’ ที่ไม่ได้มีดีแค่หัว. https://www.seub.or.th/bloging/news/helmeted-hornbill-reserved-wildlife/

มาลิทัต พรหมทัตตเวที. (2555). อาหารการกินในวรรณกรรมเรื่องพระอภัยมณี. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(2), 124-145.

แม่ชีจำเรียง กำเนิดโทน. (2560). ความเชื่อเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 22(2), 86-98.

รัญวรัชญ์ กอบศิริธีร์วรา และ ปพนพัชร์ กอบศิริธีร์วรา. (2562). ตัวละครอมนุษย์กับวัฒนธรรมศึกษาในมังงะญี่ปุ่น. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 9(2), 79-97.

วิสุทธิณี ธานีรัตน์. (2564). วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคใต้กับสวัสดิการของรัฐด้านความมั่นคงของมนุษย์. วารสารมจร การพัฒนาสังคม, 6(3), 238-250.

ศิลปวัฒนธรรม. (31 มกราคม 2565). ตำนานโบราณ “ผีดิบ-ซอมบี้” ฉบับจีน สู่หนังฮ่องกง ฤๅสาบสูญหลัง “ซอมบี้ฮอลลีวูด” บุก?. https://www.silpa-mag.com/culture/article_46785

สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ. (2554). “พื้นที่” ในเรื่องสั้นดรรชนีนางของอิงอร. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติ“ภาษา วรรณคดีไทย และการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ : การเรียนรู้และสร้างสรรค์จากสังคมไทยสู่สังคมโลก” (หน้า 310-324). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สะมะแอ วงศ์สะอาด และ จิ เส็มหมาด. (2503). เมืองสิด (ขุนแกล้ว) แหมะเว. โรงพิมพ์ อุดมพานิชกิจ.

สุนทรี อาสะไวย์. (พฤษภาคม 2554). กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง ก่อน พ.ศ. 2475. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/culture/article_71328

สุภาพรรณ ไกรเดช และ วรรณวิสาข์ ไชยโย. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ในทัศนะของปีเตอร์ ซิงเกอร์. วารสารปณิธาน, 16(2), 85-110.

สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์. (2550). อาหาร อารมณ์ และอำนาจของสตรีในวรรณกรรมร้อยแก้วตะวันตกร่วมสมัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์.

เสือ ชำนาญภักดี. (2481). กลิ่นกรอบแก้ว. โรงพิมพ์สมบูรณ์.

เสือ ชำนาญภักดี. (2494). นกในนาง นางในนก. โรงพิมพ์สมบูรณ์.

หนูแก้ว นครจันทร์. (2491ก). แก้วสองภาค. โรงพิมพ์สมบูรณ์.

หนูแก้ว นครจันทร์. (2491ข). นางแก้ว. โรงพิมพ์สมบูรณ์.

อำนวย ประพันธ์บัณฑิต และ จ.ณ. ไพรน้อย. (2503). หนุ่มเศร้าสาวครวญ. โรงพิมพ์อุดมพานิชกิจ.

Shaughessy, M., & Stadler, J. (2002). Media and society (2nd ed.). Oxford University.