ภาพแทนชาวตะวันตกในนวนิยายเรื่อง “หยดน้ำตาสยาม”

Main Article Content

ณัชรดา สมสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพแทนชาวตะวันตกในนวนิยายเรื่อง หยดน้ำตาสยาม ประพันธ์โดยแคลร์ คีฟ-ฟอกซ์ (Claire Keefe-Fox) นักเขียนเชื้อสายฝรั่งเศส-อเมริกัน โดยใช้แนวคิดภาพแทน (Representation) และแนวคิดบูรพคดีนิยม (Orientalism) เป็นแนวทางในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายเรื่อง หยดน้ำตาสยาม ได้แสดงภาพแทนชาวตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางความคิด จากนักเดินทางชาวตะวันตกที่เชื่อว่าตะวันตกคือความเจริญและตะวันออกคือความล้าหลัง มาสู่ภาพแทนชาวตะวันตกที่เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของสยาม เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมใหม่ และเป็นผู้เปล่งเสียงวิจารณ์ความอยุติธรรมที่ฝรั่งเศสกระทำต่อสยามจากกรณีพิพาทเกี่ยวกับดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ผู้แต่งได้พยายามสร้างภาพแทนชาวตะวันตกให้เป็นผู้ที่มีมนุษยธรรม เข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม และแก้ต่างว่าไม่ใช่ชาวตะวันตกทั้งหมดที่เห็นด้วยกับการล่าอาณานิคม อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายของเรื่องผู้แต่งกำหนดให้ชาวตะวันตกเดินทางกลับสู่ยุโรป ทำให้มโนทัศน์ที่ว่าตะวันตกคือความเจริญและตะวันออกคือความล้าหลังกลับมามีอิทธิพลเช่นเดิม ภาพแทนชาวตะวันตกในนวนิยายจึงมีความย้อนแย้งระหว่างภาพแทนชาวตะวันตกแบบเจ้าอาณานิคมและภาพแทนชาวตะวันตกที่มีมนุษยธรรม เข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ การสร้างภาพแทนชาวตะวันตกที่ต่างไปจากเดิมได้สะท้อนถึงความปรารถนาของผู้แต่งที่จะลบล้างภาพแทนเจ้าอาณานิคมแบบเดิมลง และนิยามตนเองตามมโนทัศน์และคุณค่าที่สังคมปัจจุบันให้ความสำคัญ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คีฟ-ฟอกซ์, แคลร์. (2558). Siamese Tears. นานมี บุ๊คส์ จำกัด.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2559). ประวัติศาสตร์การเมืองไทยประเทศไทย พ.ศ. 2475- 2500 (พิมพ์ครั้งที่ 6). มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2546). ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์แนวโพสโคโลเนียล: ความเป็นมา ลักษณะเด่นและแนวโน้ม. ใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ศูนย์วรรณคดีศึกษา ร่วมกับโครงการเอเชีย - ยุโรปศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), สัมมนาระดับชาติ วรรณกรรมโพสต์โคโลเนียลนานาชาติ (หน้า 1-9). ผู้แต่ง.

นพมาตร พวงสุวรรณ. (2551). “รอยยิ้มแห่งมายา” : “ฝรั่ง” และการสร้างจินตนาการเรื่องเมืองไทยในนวนิยายตะวันตกร่วมสมัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 2 ว่าด้วยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. อ่านและวิภาษา.

นัทธนัย ประสานนาม. (2556). การฟื้นประวัติศาสตร์และเกียรติภูมิของชาติ: ทวิภพ ในฐานะภาพยนตร์ไทยแนวโต้กลับอาณานิคม. ใน นัทธนัย ประสานนาม (บรรณาธิการ), นิยายแห่งนิยาม: เรื่องเล่าสมัยใหม่ในปริทัศน์การเมืองวัฒนธรรม (หน้า 202-252). โครงการสร้างสรรค์และพัฒนาเอกสารวิชาการทางวรรณคดี ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (24 พฤศจิกายน 2548). วาทกรรม ภาพแทน และอัตลักษณ์ วรรณคดีศึกษาในบริบทสังคมและวัฒนธรรม 2. http://www.phd-lit.arts.chula.ac.th/Download/discourse.pdf

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2559). ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hall, S. (1997). The Work of Representation. In S. Hall (Eds.), Representation: Cultural representations and signifying. Sage Publications, Inc; Open University Press.

Jouhki, J., & Pennanen, H-R. (2016). The imagined West: Exploring Occidentalism. Suomen Antropologi: Journal of the Finnish Anthropological Society, 41(2), 1-10. https://journal.fi/suomenantropologi/article/view/59639

Said, E. W. (1994). Orientalism 25th anniversary edition with a new preface by the author. Vintage Books.