การใช้อัตลักษณ์ของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆในการส่งเสริมการเป็นมุสลิมที่ดี : กรณีศึกษาของชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ประสิทธิ์ เซาะมัน
อาแว มะแส

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของกลุ่ม  ดะอ์วะฮ์ตับลีฆที่ทำงานเผยแผ่ศาสนาอิสลามในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) การใช้อัตลักษณ์ของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆในการเผยแผ่หลักธรรมอิสลาม และ 3) การตอบรับที่มีต่อบทบาทของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆในการเผยแผ่หลักธรรมอิสลาม การดำเนินการวิจัยเป็นตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น 3 ประการคือ 1) ผู้ฝึกฝนตนเองด้วยวิธีการที่เชื่อว่าสืบทอดจากท่านศาสดามูฮัมหมัด 2) ผู้ปฏิบัติตนในแนวทางของศาสนาอิสลาม และ 3) ผู้สืบทอดภารกิจการเผยแผ่ศาสนาอิสลามต่อจากท่านศาสดามูฮัมหมัด ซึ่งแสดงออกผ่านการปฏิบัติตนและวิธีการเผยแผ่ศาสนาด้วยการเดินทางไปยังชุมชนต่าง ๆ โดยใช้วิธีการสนทนาแบบตัวต่อตัวกับคู่สนทนา เพื่อส่งเสริมให้มุสลิมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติศาสนกิจให้ครบถ้วน ผลตอบรับจากคนในชุมชนมีสองลักษณะใหญ่ ๆ คือ 1) เชิงบวก ทำให้มุสลิมปฏิบัติตนอยู่ในแนวทางของศาสนาอิสลามมากขึ้น และ 2) เชิงลบ ทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบในมัสยิดที่พวกเขาไปพัก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม, ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. (23 มกราคม 2556). ชุดโตปหรือชุดโต๊ป. http://www.m-culture.in.th/album/176959/js/highslide/graphics/

กอนีต๊ะห์ บูงอตาหยง. (2550). ญีฮาด เบ็น มุฮัมหมัด กับงานดะอฺวะฮฺตามแนวทางสะลัฟในจังหวัดชายแดนใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/6233

จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ. 2561-2565) (ฉบับทบทวน 2564). https://drive.google.com/file/d/13KdrhCMZTduWqGWLbt1Alec0xJ8NzRAa/view

จีรศักดิ์ โสะสัน. (2550). กระบวนการสร้างชุมชนมุสลิมในพหุสังคมอีสาน. มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ (บรรณาธิการ). (2558). ถกเถียงวัฒนธรรมในงานวิจัยภาคกลาง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2541). มุสลิมศึกษา : สังคมศาสตร์ทวนกระแส และ “ความเป็นอื่น”. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 4(1), 6-10.

ซูไวบะห์ โต๊ะตาหยง. (2561). อัตลักษณ์ และการรักษาอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายมลายูที่ย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา ชุมชนมุสลิม เสรีไทยซอย 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฐพงศ์ สวนดี. (2559). การสื่อสารของกลุ่มดะวะฮ์ในการดำรงความเป็นมุสลิม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University.

ดอน ปาทาน. (20 เมษายน 2563). กลุ่มตับลีฆญะมาอะห์และโควิด-19 : หลายประเทศต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ. https://www.benarnews.org/thai/commentary/TH-Pathan-balancing-act-04202020175445.html

ดาราพร ศรีม่วง. (2556). การประกอบสร้างอัตลักษณ์ของนักเขียน : กรณีศึกษาเรื่องเล่าจากประสบการณ์ชีวิตของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository: SURE.

บำรุง มูซา จันทร์เชื้อ. (23 มีนาคม 2566). สีน้ำตาลสองเพาะกรุยเข็มลายผ้าสวยงาม. [Image attached] [Status update]. Facebook. https://www.facebook.com/photo/?fbid=1168153617147709&set=pcb.1965242997153225

บุญเอื้อ บุญฤทธิ์. (2556). การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่และพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ. วารสารเกษมบัณฑิต, 14(2), 46-58.

พระครูโสภณพุทธิศาสตร์ และ พระมหาสุทิตย์อาภากโร. (2562). อัตลักษณ์ทางศาสนา: รูปแบบการสื่อความหมายเพื่อสร้างสันติภาพของประชาคมอาเซียน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(4), 1887-1912.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2555). ปรัชญาสังคมศาสตร์และกระบวนทัศน์ในการแสวงหาความรู้. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 1(1), 78-88.

แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง. (2546). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวมลายูมุสลิมและชาวจีนย่านสายกลาง จังหวัดยะลา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository: SURE.

ฟารุก ขันราม. (2559). การศึกษาคัมภีร์อัล-กุรอานในประเทศไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีการอ่านคัมภีร์อัล-กุรอาน ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 235-246.

ภัทรมน กาเหย็ม. (2554). กระแสการฟื้นฟูศาสนาอิสลามในมาเลเซียก่อนและหลังได้รับเอกราช. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.

มะสาการี อาแด. (2543). แนวคิดเชิงซูฟีของกลุ่มดะวะฮฺตับลีฆในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank.

ลักษิกา เงาะเศษ และ จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. (2562). การสร้างชุมชนข้ามถิ่นและเครือข่ายทางสังคมของมุสลิมในจังหวัดหนองคาย. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 36(3), 95-121.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมัคร์ กอเซ็ม. (2555). โยรชายแดน: พื้นที่และขบวนการทางศาสนา, การปรับสร้างอัตลักษณ์ของผู้ย้ายถิ่นมุสลิมบริเวณพรมแดนไทย-พม่า. วารสารสังคมศาสตร์, 24(1-2), 317-348.

สำนักงานคณะกรรมการอิสลามฉะเชิงเทรา. (ม.ป.ป.). รายชื่อมัสยิด ที่อยู่ อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา รวม 67 มัสยิด. สำนักงานคณะกรรมการอิสลามฉะเชิงเทรา. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564, จาก http://www.islamicchachoengsao.com/menu/register.html

สำนักจุฬาราชมนตรี. (9 ตุลาคม 2563). มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ว่าด้วย การดำเนินกิจกรรมทางศาสนา (การออกดะอ์วะห์หรือตับลีฆ) (ฉบับที่ 10/2563). https://skthai.org/th/news/97067-มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019-%28covid-19%29-ว่าด้วย-การดำเนินกิจกรรมทางศาสนา-%28การออกดะอ์วะห์หรือตับลีฆ%29-%28ฉบับที่-10/2563%29

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2559). ทฤษฎีการสื่อสาร. โรงพิมพ์ระเบียงทอง.

แสน กีรตินวนันท์ และ สิริยา รัตนช่วย. (2562). กลไกขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนเมืองของชุมชนมุสลิมมัสยิดกมาลุลอิสลามกรุงเทพมหานคร. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 32(2), 37-50.

เสาวนีย์ จิตต์หมวด. (2531). กลุ่มชาติพันธุ์: ชาวไทยมุสลิม. กองทุนสง่ารุจิระอัมพร.

อนุสรณ์ อุณโณ. (2554). “นบีต๊ะมาแกปี แน” (นบีไม่กินหมาก): มลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย. กระทรวงวัฒนธรรม.

อับดุลเลาะ หนุ่มสุข. (2562). อิสลามกับความหลากหลายของมุสลิม : แตกต่างไม่แตกแยก. วารสารวิทยาลัยอิสลามศึกษา, 1(1), 33-45.

อับดุลสุโก ดินอะ. (2549). ฝ่าวิกฤตชายแดนใต้ในสายตาของอุสตาซ. มติชน.

อับดุลสุโก ดินอะ. (18 เมษายน 2563). Covid-19 “ดะวะฮฺ” และมุสลิมไทยบทเรียนที่ต้องปรับปรุง. มติชน. https://www.matichonweekly.com/column/article_297148

อัลฮุดา บินตีฮารุน. (2557). วิธีการดะอฺวะฮฺขององค์กรมุสลิมะฮฺในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank.

อัสรี มาหะมะ. (ม.ป.ป.). การก่อร่างสร้างอัตลักษณ์ของชาวมุสลิมช้างคลานในเมืองเชียงใหม่. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565, จาก https://web.codi.or.th/wp-content/uploads/2022/01/19.การก่อร่างสร้างอัตลักษณ์ของชาวมุสลิมช้างคลาน.pdf

อานันท์ กาญจนพันธุ์, จามะรี เชียงทอง, ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์, อภิญญา เฟื่องฟูสกุล, วัฒนา สุกัณศีล, อรัญญา ศิริผล, ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย, วสันต์ ปัญญาแก้ว, ปฤษฐา รัตนพฤกษ์, และ ขวัญชีวัน บัวแดง. (2559). โลกสมัยใหม่ในชีวิตประจำวัน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Cerulo, K. A. (1997). Identity construction: New issues, new directions. Annual Review of Sociology, 23, 385-409.

Dehghani, R. (2018). The role and impact of Islamic identity in the process of Nation-State building in Iran and Turkey. Revista Publicando, 15(2), 1537-1558.

Hardy, C., Lawrence, T. B., & Grant, D. (2005). Discourse and collaboration: The role of conversations and collective identity. The Academy of Management Review, 30(1), 58-77.

Horstmann, A. (2007). The inculturation of a transnational Islamic missionary movement: Tablighi Jamaat al-Dawa and Muslim society in Southern Thailand. Journal of Social Issues in Southeast Asia, 22(1), 107-130.

Racius, E. (2004). The multiple nature of the Islamic Da‘Wa [Academic Dissertation]. University of Helsinki.