การรื้อฟื้นความเป็นจีนในคนไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่ 3 หรือ 4 : กรณีศึกษาผู้ประกอบการร้านคาเฟ่สไตล์จีนในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พิชชาภา ทุมดี

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องการศึกษาการรื้อฟื้นความเป็นจีน (Resinicization) ในกลุ่มผู้ประกอบการชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่ 3 หรือ 4 ในจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะกระบวนการทางวัฒนธรรมของการกลายเป็นสินค้า โดยศึกษาผ่านแรงจูงใจในการใช้ความเป็นจีนในฐานะอัตลักษณ์ของคาเฟ่ และการให้ความหมายต่อความเป็นจีนของผู้ประกอบการ เก็บข้อมูลจากกรณีศึกษา 3 กรณี​ โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดกระบวนการทางวัฒนธรรมของการกลายเป็นสินค้า (cultural process of commoditization) ผลการศึกษาพบว่าการเกิดขึ้นของคาเฟ่สไตล์จีนมิได้เป็นเพียงกระแสบริโภคนิยม แต่เป็นผลมาจากบริบททางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยและการเรืองอำนาจของจีน ด้านสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความเป็นจีนที่ใช้ในการตกแต่งมักสื่อถึงความเป็นจีนโดยรวมมากกว่าวัฒนธรรมจีนโพ้นทะเล ส่วนความหมายของความเป็นจีนในเรื่องเล่าเกี่ยวกับแบรนด์มักเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของการเป็นสมาชิกครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนของผู้ประกอบการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องยึดโยงกับวาทกรรมหลักของรัฐ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทุมดี พ. (2024). การรื้อฟื้นความเป็นจีนในคนไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่ 3 หรือ 4 : กรณีศึกษาผู้ประกอบการร้านคาเฟ่สไตล์จีนในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 24(1), 354–383. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/272902
บท
บทความวิจัย

References

กิตยุตม์ กิตติธรสกุล. (2557). ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 และยุคแรกเริ่มสงครามเย็นกับบทบาททางเศรษฐกิจของคนจีนในเชียงใหม่. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 10(2), 24.

ไกรวิสุทธิ์ รณขัณฑ์ทอสกุล. (2563). อัตลักษณ์ของชาวจีนตรอกเล่าโจ๊ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. ห้องสมุดงานวิจัยสำหรับสาธารณะ. http://164.115.28.46/thaiexen/search_detail/result/10587

ชัยพงษ์ สำเนียง. (2565). เจ้า พ่อค้า ชาวนา นายทุนและเครือข่ายธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สยามปริทัศน์.

ฐิติชาญ ศรีดี. (2560). การเปลี่ยนแปลงของอาหารญี่ปุ่นในสังคมไทย: กรณีศึกษาร้านอาหารญี่ปุ่นในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. คลังสารสนเทศดิจิทัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข. (28 สิงหาคม 2560). Ba Hao เบื้องหลังการเปลี่ยนตึกแถววินเทจย่าน วงเวียน 22 มาเป็นร้านอาหารและห้องพักหมายเลข 8. The Cloud. https://readthecloud.co/replace-3/

นรุตม์ คุปต์ธนโรจน์. (2558). ย่านไชน่าทาวน์เยาวราช: พื้นที่การนำเสนออัตลักษณ์เชิงซ้อนของวัฒนธรรมความเป็นจีนในสังคมไทยร่วมสมัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR).

นิโลบล วงศ์ภัทรนนท์. (2564). จาก ลอดลายมังกร สู่ เลือดข้นคนจาง: การนำเสนออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนในละครโทรทัศน์ไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(2), 76-102.

ปรีดา อัครจันทโชติ. (2561). ความเป็นจีนในละครโทรทัศน์ไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 36(1), 1-20.

ปลายอ้อ ชนะนนท์. (2530). นายทุนพ่อค้ากับการก่อตัวและขยายตัวของระบอบทุนนิยมในภาคเหนือของไทย พ.ศ.2464-2523. สร้างสรรค์.

มุจลินทร์ เพ็ชรรุ่ง. (2553). การศึกษาบทบาทของชาวจีนใน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository : SURE.

ยศ สันตสมบัติ. (2557). มังกรหลากสี : การขยายอิทธิพลเหนือดินแดนและพันธกิจเผยแผ่อารยธรรมในอุษาคเนย์. ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสังคมศาสตร์.

สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์. (2566). เป็นจีนเพราะรู้สึก: ประวัติศาสตร์เสื่อผืนหมอนใบที่เพิ่งสร้าง. มติชน.

Althusser, L. (2014). Appendix 2: Ideology and ideological state apparatuses (notes towards an investigation). In L. Althusser (Ed.), & G. M. Goshgarian (Trans.), On the reproduction of capitalism: Ideology and ideological state apparatuses (pp. 232-272). Verso.

Ang, S. (2022). Contesting Chineseness : Nationality, class, gender and new Chinese migrants. Amsterdam University Press.

Appadurai, A. (Ed.). (1986). The social life of things: Commodities in cultural perspective. Cambridge University Press. https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifestyle/1413014/cool-china

Chun, A. (2017). Forget Chineseness : On the geopolitics of cultural identification. SUNY Press.

Concha, P. (2020). Curating pop-up street food markets in London. In E. Falconer (Ed.), Space, taste and affect: Atmosphere that shape the way we eat (pp. 131-141). Routledge. https://doi.org/10.4324/9781315307473

Falconer, E. (2020). Space, taste and affect: An introduction. In E. Falconer (Ed.), Space, taste and affect: Atmosphere that shape the way we eat (pp.1-15). Routledge. https://doi.org/10.4324/9781315307473

Felton, E. (2019). Filtered coffee, the café and the 21st-century city. Routledge.

Han, E. (2022). Re-encountering the familiar other: Contesting ‘re-sinicization’ in Thailand. Singapore Journal of Tropical Geography, 43(3), 270-286. https://doi.org/10.1111/sjtg/12421

Hau, C.-S. (2012). Becoming “Chinese”—but what “Chinese”?—in Southeast Asia. The Asia-Pacific Journal: Japan Focus, 10(26), 1-37.

Hoon, C.-Y., & Chan Y.-K. (Eds.). (2021). Contesting Chineseness: Ethnicity, identity, and nation in China and Southeast Asia. Springer Nature.

Huang, S. (2010). Reproducing Chinese culture in diaspora: Sustainable agriculture and petrified culture in northern Thailand. Lexington Books.

Leeman, J., & Modan, G. (2010). Selling the city: Language, ethnicity and commodified Space. In E. Shohamy, E. Ben-Rafael, & M. Barni (Eds.), Linguistic landscape in the city (pp.182-215). Multilingual Matters.

Sutthavong, A. (2018, February 16). Cool China. Bangkok Post. https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifestyle/1413014/cool-china