“1984” จากมุมมองจิตวิเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษานวนิยายสมมติเรื่อง “1984” ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซึ่งใช้ในกระบวนการรักษาผู้ป่วยทางจิตตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า การปกครองของรัฐเผด็จการส่งผลให้ผู้คนต้องดำเนินชีวิตอย่างเครื่องจักร ตัวละครเอก “วินสตัน” จึงรู้สึกโดดเดี่ยว โหยหาอดีต ความรักและความเป็นส่วนตัวอยู่ตลอดเวลา ประการต่อมาคือ รัฐเผด็จการมีกลไกในการควบคุมประชาชน ได้แก่ การสร้างภาพลักษณ์ของผู้นำให้เป็นตัวแทนแห่งความสมบูรณ์พร้อม เพื่อเป็นจุดยึดเหนี่ยวของคนทั้งประเทศ และการเบี่ยงเบนจุดสนใจที่ประกอบด้วยการคงสภาพชีวิตที่ย่ำแย่ เพื่อให้ประชาชนหมกมุ่นอยู่กับปัญหาปากท้อง จนไม่มีเวลาคำนึงถึงเรื่องที่ใหญ่กว่า การควบคุมความคิดและพฤติกรรมของสมาชิกพรรคชั้นนอก และการจัดหาพื้นที่ให้ผู้คนได้ปลดปล่อยความคับข้องใจ ประการสุดท้ายคือ การควบคุมของรัฐทำให้ตัวละครใน “1984” มีอาการเก็บกด และต้องมีกลไกในการปรับความสมดุลทางจิต ได้แก่ การเขียนบันทึกของวินสตัน การปลดปล่อยความคับข้องใจในความฝันที่มีขึ้นกับสมาชิกพรรคชั้นนอกอย่างวินสตัน และพาร์สันส์ ตลอดจนการมีพฤติกรรมที่สวนทางกับแบบแผนของสังคมอย่างเรื่องที่วินสตันไปนอนกับโสเภณี คลุกคลีอยู่กับชนชั้นกรรมาชีพ และครอบครองวัตถุ ส่วนจูเลียก็แอบไปซื้อของในตลาดมืด และมีเพศสัมพันธ์กับชายใดก็ตามที่จริตต้องกัน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คาร์ล กุสตาฟ จุง. (2559). พื้นฐานจิตวิเคราะห์ของจุง (ศักดิ์ บวร, ผู้แปล). สมิต.
คาร์ล กุสตาฟ ยุง. (2551). ความทรงจำ ความฝัน และความคิดคำนึง (พจนา จันทรสันติ, ผู้แปล). โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 1963).
จอร์จ ออร์เวลล์. (2563). 1984 (รัศมี เผ่าเหลืองทอง และ อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์, ผู้แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 6). สมมติ.
ซิกมุนด์ ฟรอยด์. (2560). จิตวิทยาความฝัน. (เมธินี ไชยคุณา, ผู้แปล). แอร์โรว์ มัลติมีเดีย. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2017).
ซิกมุนด์ ฟรอยด์. (2562). อีโก้และอิด (ศักดิ์ บวร, ผู้แปล). สมิต.
ปพักตร์อร ธรรมกวินทิพย์. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบอาร์คีไทพ์ในวรรณคดี: กรณีศึกษาจากนิทานพระอภัยมณีคำกลอนและโอดิสซี [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์. (2566). กลไกการป้องกันตนเอง - Defense Mechanisms. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะจิตวิทยา. https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/defense-mechanisms
เพลโต. (2550). วันสุดท้ายของโสคราตีส (กิ่งแก้ว อัตถากร, ผู้แปล). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.
Truong Thi Hang, ณัฐนรินทร์ เมธีวุฒินันทน์ ภาณุภัทรธนวัฒน์, และ ชวน เพชรแก้ว. (2563). คุรุ: คุณค่าและนัยยะ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 126-136.