บทบาทตัวละครผีหญิงในผลงานรวมเรื่องสั้น โอะบะจังตะชิ โนะ อิรุ โทะโกะโระ ของ มะท์ซุดะ อะโอะโกะ

Main Article Content

เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์

บทคัดย่อ

ตัวละครผีหรือวิญญาณผู้หญิงในผลงานรวมเรื่องสั้น โอะบะจังตะชิ โนะ อิรุ โทะโกะโระ ของมะท์ซุดะ อะโอะโกะ มีลักษณะที่แตกต่างจากภาพลักษณ์ของตัวละครผีหญิงโดยทั่วไปในวรรณกรรมญี่ปุ่นยุคก่อนหน้า กล่าวคือ ตัวละครผีหญิงถูกสร้างให้เป็นตัวละครที่แม้จะเสียชีวิตลงจากความทรมานกายหรือใจแต่ก็กลับกลายเป็นวิญญาณที่กลับมาเยียวยาหรือคลี่คลายปัญหาให้กับตัวละครเอก บทความวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาบทบาทของตัวละครผีหญิงและทัศนคติแนวสตรีนิยมของผู้เขียน จากการศึกษาพบว่าผู้เขียนได้สร้างให้ตัวละครผีหญิงมีบทบาทในการทำหน้าที่เป็นผู้เยียวยาหรือมีส่วนสำคัญในการคลี่คลายปัญหาให้กับตัวละครเอก ทั้งยังเป็นตัวละครที่มีบทบาทกระตุ้นให้ตัวละครเอกที่เคยสูญเสียอัตลักษณ์หรือถูกทำให้มีความเป็นชายขอบกลับกลายมาเป็นตัวละครที่มีอัตลักษณ์และสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างภาคภูมิ สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดสตรีนิยมแบบเฉพาะตัวของผู้เขียนที่ไม่เพียงให้อำนาจกับผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังนำตัวละครผีหญิงที่อดีตเคยถูกสร้างให้มีความเป็นอื่นกลายมาเป็นผู้เยียวยาตัวละครมนุษย์ที่มีความหลากหลายและมีความเป็นอื่นให้กลับมาเป็นตัวละครที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชมนาด ศีติสาร. (2561). คติชนวิทยาญี่ปุ่น. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถยา สุวรรณระดา. (2561). อิกิเรียว วิญญาณคนเป็นในวรรณกรรมญี่ปุ่น. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Andrews, J. (1999). Rethinking the Relevance of Magic Realism for English-Canadian Literature: Reading Ann-Marie MacDonald’s Fall On Your Knees. Studies in Canadian Literature, 24(1), 1-19. https://journals.lib.unb.ca/index.php/SCL/article/view/12849

Bestor, T. C. (2015). Contemporary Japan : Japanese Society Homogeneity. Asian Topics. http://afe.easia.columbia.edu/at/contemp_japan/cjp_society_01.html

Jordan, B. (1985). Yurei: Tales of female ghosts. In S. Addiss (Ed.),Japanese Ghosts & Demons:Art of the supernatural (pp. 25-33). G.Brazille.

de Beauvoir, S. (1956). The Second Sex (Parshley, H. M., Trans). Jonathan Cape, London. (Original work published 1949).

Lovelace, A. (2008). Ghostly and Monstrous Manifestations of Women: Edo to Contemporary. The Irish Journal of Gothic and Horror Studies, 5, 30-45. https://irishgothicjournal.net/issue5/

Matsuda, A. (2021).Kaigai demo Chuumokusareru sakka・Matsuda Aokosan ga kataru,Shousetsu no tsukurikata to saishin tanbenshuu. Kateigaho. https://www.kateigaho.com/migaku/106269/2/

Matsuda, A. (2022). Obachantachi no iru tokoro. Chuuokouronshinsha. (in Japanese)

Ooe Kenzaburou (henshuudaihyou). (1981).Bunka no genzai 4 Chuushin to shuuen. Iwanamishoten. (in Japanese)

Osada, Y.(2023).Nihon no daibaashitei&inkuruujyon: “Hayarimono” dewanai honki no torikumi e. The Japan Times issued on 30th January 2023,B2-B3. (in Japanese)

Said, E. (1978). Orientalism. Pantheon Books.

Sugihara, Y., & Katsurada, E. (2000). Gender-Role Personality Traits in Japanese Culture. Psychology of Women Quarterly, 24(4), 309-318.

Tsushima, K.(1996).Shousetsu no naka no yuurei(1).Eibeigaku kenkyuu, 31, 41-45. (in Japanese)

Zonfun, R. (2015).Kindainihon no kaidankenkyuu-Meijiki yuureitan wo jendaa, sensou, shokuminchishugi no shiza kara yominaosu- [Tsukubadaigaku hakase gakui seikyuu ronbun] .Tsukubadaigaku. (in Japanese)