ความหมายและการแปลคำว่า “เต๋า” (道) เป็นภาษาไทย : กรณีศึกษา งานแปลคัมภีร์เต๋าของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและกลวิธีการแปลคำว่า “เต๋า” (道) จากต้นฉบับภาษาจีนเป็นภาษาไทย วิเคราะห์ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อการแปลคำว่า “เต๋า” (道) จากต้นฉบับภาษาจีนเป็นภาษาไทย โดยการศึกษาผ่านคัมภีร์เต๋าของนักปราชญ์สามท่าน ได้แก่ คัมภีร์เต๋าของเหลาจื่อ คัมภีร์เต๋าของจวงจื่อ คัมภีร์เต๋าของเลี่ยจื่อ ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยฉบับแปลภาษาไทย ศึกษาผลงานแปลของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ เนื่องจากเป็นบุคคลที่แปลคัมภีร์เต๋าจากต้นฉบับภาษาจีนและแปลครบทั้งสามเล่ม ผลการศึกษาพบว่า การแปลคำว่า “เต๋า” (道) จากต้นฉบับภาษาจีนเป็นภาษาไทย มีวิธีการแปลที่หลากหลาย พบว่า การแปลคัมภีร์เต๋า ของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ มีการแปลความหมายของคำว่า “เต๋า” หลากหลายที่สุด นอกจากนี้ ในด้านกลวิธีการแปล ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์กลวิธีการแปลได้ 6 อย่าง ได้แก่ 1) การแปลโดยการถอดเสียง 2) การแปลโดยการแปลตรงตัว 3) การแปลโดยใช้คำเทียบเท่าภาษาต้นทาง 4) การแปลโดยการใช้คำที่มีความหมายกว้าง 5) การแปลโดยใช้กลวิธีการแปลมากกว่าหนึ่งวิธีร่วมกัน 6) การแปลแบบการใช้อุปมาโวหาร ทั้งนี้ ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับค่านิยมทางความเชื่อ และศาสนา เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการแปลคัมภีร์ทั้งสามฉบับเป็นอย่างมาก ผู้แปลได้คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนามาใช้แปลคำว่า “เต๋า” ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางความคิดระหว่างปรัชญาเต๋าและพระพุทธศาสนาที่สะท้อนให้เห็นในฉบับแปลภาษาไทย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกพร นุ่มทอง. (2554). ตำราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กนกพร นุ่มทอง. (2563). ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาจีน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะมนุษศาสตร์, ภาควิชาภาษาตะวันออก.
กนกพร นุ่มทอง. (2564). การศึกษาปัญหาและกลวิธีการแปลภาษาจากเอกสารประวัติศาสตร์ภาษาจีนเป็นภาษาไทย. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 39(2), 31-50.
กนกพร นุ่มทอง และ ศิริวรรณ ลิขิตเจริญธรรม. (2562). หลักและข้อควรระวัง ในการแปลจีน-ไทย ไทย-จีน. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 12(2), 105-151.
กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกฉบับหลวง (๔๕ เล่ม). กรมการศาสนา.
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2562). การวิเคราะห์ข้อความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. (2547). คัมภีร์เต๋าของเหลาจื่อ. สร้างสรรค์บุ๊คส์.
ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. (2548). คัมภีร์เต๋าของจวงจื่อ. สร้างสรรค์บุ๊คส์.
ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. (2545). คัมภีร์เต๋าของเลี่ยจื่อ. สร้างสรรค์บุ๊คส์.
ธัญญรัตน์ ปาณะกุล. (2563). นักแปลกับปัญหาการแปลข้ามวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์ฉบับบัณฑิตศึกษา, 9(1), 60-71.
พนมกร คำวัง. (2562). ความเป็นมาและพัฒนาการของลัทธิเต๋า. วารสารวิจัยธรรมศึกษา. วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 2(2), 25-39.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. สหธรรมิก.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สัญฉวี สายบัว. (2542). หลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2562). แปลผิด แปลถูก: คัมภีร์การแปลยุคใหม่. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อธิศา งามศรี. (2560). กลวิธีการแปลคำและวลีทางวัฒนธรรมที่พบในบทแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาหนังสือเรื่อง “ครูบ้านนอก” โดย คำหมาน คนไค [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Newmark, P. (1988). A textbook of translation. Prentice Hall International (UK) Ltd.
Nida, E. A., & Taber, C. R. (1982). The theory and practice of translation (2nd photomechanical reprint). The United Bible Societies.
Merriam-Webster. (n.d.). Tao. In Merriam-Webster.com dictionary. Retrieved March 5, 2022, form https://www.merriam-webster.com/dictionary/Tao
Wang, Y. (2017). Translation ancient Chinese poems by applying interpretive translation. Chinese Studies, 6(1), 29-36.
Chen Fuhua陈复华著《古代汉语词典》编写组编. (2002).《古代汉语词典》(大字本). 商务印书馆出版社.
Chen Guying陈鼓应. (1988). 老子註译及评介. 中华书局出.
Dong Binbin董斌斌. (2013). 道可道,非常道 ——《道德经》中 “道” 字翻译的研究 .大学教育, (07), 152-154.
Ding Yi丁一. (2018).《庄子》智慧全解. 华中科技大学出社.
Lian Peipei, & Cai Panke连佩佩, 蔡攀科. (2011). 从零翻译的角度看《道德经》中 “道” 字的翻译. 语言文字, (09), 108-109.
Liu Kongxi, & Yang Bingjun刘孔喜, 杨炳钧. (2015). 翻译原型论视角的老子哲学术语英译研究 ———以名词 “道” 译作 way的理据为例 . 语言文字, 36(01), 102-107.
Liu Qianyang刘乾阳. (2013). 跨文化视角下《庄子》“道” 的英译. 山东大学.
Lu Shuxiang, & Ding Shengshu吕叔湘, 丁声树. (2016). 现代汉语词典. 商务印书馆出版社.
Wang Libo王力波. (2018). 《列子译注》. 黑龙江人民出版社.
Yang Jieqing杨洁清. (2011). 译 “道 ” 之道———基于语料库的《道德经》“道” 字翻译研究. 周口师范学院学报, 28(03), 68-71