การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนจากเอกสารโบราณ วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ทิพย์วารี สงนอก

บทคัดย่อ

การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนจากเอกสารโบราณ วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อวิเคราะห์คำสอนและกลวิธีการสอนที่ปรากฏในเอกสารโบราณ วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาพบคำสอนชาย ให้กตัญญูสอนหญิง ให้รู้จักปรนนิบัติ ให้รักพ่อแม่สามี ให้เป็นศาสนิกชนที่ดี สอนคนทั่วไปให้ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่โกหก ไม่ลุ่มหลงในกามตัณหา มีความกตัญญู และสืบทอดพุทธศาสนา คำสอนพระสงฆ์ให้หมั่นศึกษาพระธรรมและถ่ายทอดพุทธศาสนา และกลวิธีการสอนคือ สอนโดยตรง สอนโดยการเปรียบเทียบ สอนโดยการเล่าเรื่องมาประกอบการสอน และสอนโดยอาศัยหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สงนอก ท. (2024). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนจากเอกสารโบราณ วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 24(1), 235–252. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/267913
บท
บทความวิจัย

References

ประเวศ อินทองปาน (2565). วิเคราะห์พุทธปรัชญาในวรรณกรรมไตรภูมิพระร่วงและวรรณกรรมแห่งมหาภารตะในคัมภีร์ภควัทคีตา. วารสารศิลปการจัดการ, 6(1), 65-84. https://so02.tcithaijo.org/index.php/jam/article/download/253044/171178/935386

พระชลญาณมุนี, บุญทัน ดอกไธสง, และ พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. (2560). พระสงฆ์ต้นแบบในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สังคมโลก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 127-140.

พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2559). ภูมิปัญญาของคนไทย: ศึกษาจากวรรณกรรมคำสอนภาคกลางยุคการพิมพ์ (พ.ศ.2459-2493). กระทรวงวัฒนธรรม, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา. (2549). ปูมเมืองโคราช : บันทึกคำบอกเล่าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา.

เอมอร ชิตตะโสภณ. (2539). การศึกษาวิเคราะห์จารีตนิยมทางวรรณกรรมไทย. ต้นอ้อ แกรมมี่.