การออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการกำกับตนเองในการเรียนและเพิ่มแรงจูงใจ : กรณีผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยระดับกลางขึ้นไป

Main Article Content

สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้การจัดการการสอนเปลี่ยนไปและนักศึกษามีแรงจูงใจในการเรียนลดลง ผู้วิจัยจึงออกแบบกิจกรรมที่มีชื่อว่า “พัฒนาภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเอง” ตามขั้นตอนการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใช้วิธีการต่าง ๆ ในการกำกับตนเองในการเรียนซึ่งเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน ในการทำกิจกรรมนี้นักศึกษาต้องประเมินความสามารถภาษาญี่ปุ่นของตนเองเพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน ตั้งเป้าหมาย วางแผน กำหนดวิธีการฝึกและการประเมิน ฝึกฝนนอกเวลาเรียน บันทึกผล และตรวจสอบด้วยตนเอง นักศึกษาที่เข้าร่วมรวม 41 คน มีความสามารถภาษาญี่ปุ่นระดับกลางขึ้นไป ข้อมูลรวบรวมจากรายงานของนักศึกษาและแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนที่นักศึกษาทุกคนใช้ ได้แก่ การประเมินตนเอง การจัดระเบียบความคิด การตั้งเป้าหมายและวางแผน การสืบค้นข้อมูล การบันทึกและตรวจสอบ และการทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนก่อนหน้า ในขณะที่กลวิธีการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น และการให้รางวัลหรือทำโทษตนเองมีนักศึกษาเลือกใช้ต่ำกว่าร้อยละ 25  2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมนี้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมนี้สามารถส่งเสริมทักษะการกำกับตนเองในการเรียน และเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักศึกษาได้ นักศึกษาสามารถใช้วิธีการในการกำกับตนเองทั้งสามระยะ ได้แก่ การคิดหรือวางแผนล่วงหน้า การลงมือปฏิบัติ และการสะท้อนคิด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เนียรเจริญสุข ส. (2023). การออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการกำกับตนเองในการเรียนและเพิ่มแรงจูงใจ : กรณีผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยระดับกลางขึ้นไป. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 120–140. https://doi.org/10.14456/lartstu.2023.35
บท
บทความวิจัย

References

คอฟแมน, จอช. (2562). The First 20 Hours [กฎ 20 ชั่วโมงแรก] (พิมพ์ครั้งที่ 1, วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา, ผู้แปล). สำนักพิมพ์วีเลิร์น.

เบญจวรรณ ดั่นประดิษฐ์ และ สุปาณี สนธิรัตน. (2558). การกำกับตนเอง ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค แรงจูงใจภายใน และความสำเร็จในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 41(1), 121-134.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ราชบัณฑิตยสถาน.

สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข. (2550). สัญญาการเรียนรู้. วารสารศิลปศาสตร์, 7(2), 148-162.

Boekaerts, M., & Corno, L. (2005). Self-regulation in the classroom: A perspective on assessment and intervention. Applied Psychology: An International Review, 54(2), 199-231.

Inaba, M. (2021). Analysis of self-regulated learning of university students: Motivation, learning strategies, meta-cognition in learning English. Kyouyou to Kyouiku, 21, 1-8. (in Japanese)

Kimura, A., & Kurokami, H. (2022). The Development of a Learning Model That Facilitates Self-Regulation Skills Supported by ICT. Japan Society for Educational Technology, 46(3), 1-18. (in Japanese)

Meşe, E., & Sevilen, Ç. (2021). Factors influencing EFL students’ motivation in online learning: A qualitative case study. Journal of Educational Technology & Online Learning, 4(1), 11-22.

Mita K., Kurita T., & Maurer Y. (2016). Self-Regulated Learning in Required English Courses in a Junior College ―Grammar Instruction for Developing Autonomous Learners by Enhancing Metacognition. The bulletin of Jissen Women’s Junior College, 37, 15-44. (in Japanese)

Morita, J., Suzuki, K., Toda, M., & Goda, Y. (2014). Design and evaluation of Japanese language e-learning based on self-regulated learning theories. Japan Journal of Educational Technology, 38, 77-80. (in Japanese)

Ninomiya R. (2015). Effects of making a presentation twice followed by reflection: An analysis based on self-regulated learning theory. Journal of global education, 6, 31-44. (in Japanese)

Nishida H., & Kuga N. (2018). Development and effects of English teaching guidance program that creates “Students’ Autonomous Learning” Based on the Theory of self-regulated learning. Japan Journal of Educational Technology, 42(2), 167-182. (in Japanese)

Oxford, R. L. (1990). Language Learning Strategies: What every teacher should know. Newbury House.

Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2000). Self-determination theory and the facilitation of intrinsic motivation, social development, and well-being. American Psychologist, 55(1), 68–78.

Sato, R. (2012). Self-regulated learning in Japanese language education. In SRL Kenkyuukai (Ed.), Self-Regulated Learning (pp. 225-239). Kitaooji Shobo Publishing. (in Japanese)

Sato, R. (2015). Enhancing cognitive awareness of evaluation criteria for presentation by a group. The journal of Japanese Language Education Methods, 22(1), 56-57. (in Japanese)

Wada, I., & Morimoto, S. (2014). Development of the instruction for promoting self-regulated learning in science classes. The Bulletin of Japanese Curriculum Research and Development, 37(2), 15-27. (in Japanese)

Zimmerman, B. J. (1989). A social cognitive view of self-regulated academic learning. Journal of Educational Psychology, 81(3), 329-339.

Zimmerman, B. J. (2000). Attaining self-regulation: A social cognitive perspective. In M. Boekaerts, P. R. Pintrich, & M. Zeidner (Eds.), Handbook of Self-Regulation (pp. 13-39). Academic Press.

Zimmerman, B. J. (2011). Motivational sources and outcomes of self-regulated learning and performance. In B. J. Zimmerman & D. H. Schunk (Eds.), Handbook of Self-Regulation of Learning and Performance (pp.49-64). Routledge.

Zimmerman, B. J., & Martinez-Pons, M. (1986). Development of a structured interview for assessing student use of self-regulated learning strategies. American Educational Research Journal, 23, 614-628.